Page 28 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
16
2) กำหนดให้แต่ละบล็อก (block) มีความสม่ำเสมอและขวางความลาดเทของพื้นที่ จำนวน 3 บล๊อก
ใหกระจายอยูบริเวณสวนบน สวนกลาง และสวนลางของความลาด ในแต่ละบล๊อก จัดทำแปลงขนาด 22 X 4
เมตร จำนวน 4 แปลงย่อย รวม 12 แปลง ดังภาพที่ 4
ภาพที่ 4 ตัวอย่างแปลงสำรวจเก็บข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน (Wishmeier plot)
3) การปลูกข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 3 โดยการหยอดหลุมละ 2 เมล็ด ระยะห่าง 25 X 30 เซนติเมตร
4) การใส่ปุ๋ยเคมี แบ่งใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูกที่
20 วัน และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อข้าวโพดอายุ 45 วัน
5) การประเมินการสูญเสียดิน
5.1) ล้อมรั้วสูง 50 เซนติเมตร รอบแปลงทั้ง 3 ด้าน และด้านท้ายแปลงจัดทำบ่อดักตะกอนดิน
5.2) ปักหมุด Erosion stakes แถวละ 3 หมุด จำนวน 10 แถว รวมแปลงละ 30 หมุด
6) การเก็บเกี่ยว เมื่อปลูกข้าวโพดอายุ 120-130 วัน
7) การเก็บตัวอย่างดิน
7.1) สุ่มเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลอง ที่ระดับความลึก 0-15 เซ็นติเมตร
7.2) สุ่มเก็บตัวอย่างดินหลังการทดลองในทุกตำรับการทดลอง ที่ระดับความลึก 0-15 เซ็นติเมตร
นำตัวอย่างดินในข้อ 3.1 และ 3.2 มาพึ่งให้แห้ง บดให้ละเอียด ร่อนผ่านตะแกรง และ
วิเคราะห์ปริมาณธาตุคาร์บอน ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณอินทรียวัตถุ ในดิน
8) การเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตพืช
8.1) วัดความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น และขนาดทรงพุ่ม ตลอดช่วงอายุข้าวโพด
8.2) หาน้ำหนักฝักปอกเปลือกเฉลี่ย หาน้ำหนักร้อยเมล็ด และผลผลิตต่อไร่
8.3) หาน้ำหนักต่อซังข้าวโพด
9) ข้อมูลน้ำฝน บันทึกข้อมูลน้ำฝนทุกครั้งของฝนที่ตกในชวงเวลาเดียวกับการเก็บขอมูลตะกอนและ
น้ำไหลบาหนาดินในแปลงทดลอง