Page 20 - ผลกระทบจากการเผาตอซังและไม่ไถพรวนต่อสมบัติดินเพื่อ การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ Effects of Burning and No-tillage on Soil Properties forMaize Production on Upland in Chiang Mai Province.
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            8

                   ห่างเป็นแถบสลับกันขวางความลาดเทของพื้นที่ตามแนวระดับหรือไม่เป็นไปตามแนวระดับก็ได้ มี

                   วัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณการเคลื่อนย้ายหน้าดิน และลดอัตราการไหลบ่าของน้ำฝนผ่านพื้นที่เพาะปลูกตาม
                   แนวความลาดเทเพื่อปรับปรุงบำรุงดินลดความเสียหายของพืชที่ปลูก และลดการระบาดของโรคและแมลง

                                     5) การปลูกพืชหมุนเวียน (Crop Rotation) เป็นการปลูกพืชสองชนิดหรือมากกว่า

                   หมุนเวียนกันลงบนพื้นที่เดียวกัน โดยจัดชนิดของพืชและเวลาปลูกให้เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำและ
                   การใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพให้ดินมีความอุดมสมบูรณและมีความสามารถในการให้ผลผลิตพืชสูงเป็นระยะ

                   เวลานาน ช่วยให้เกิดการหมุนเวียนการใช้ธาตุอาหารของพืช การปลูกพืชหมุนเวียนจะมีอัตราการเสี่ยงน้อย

                   กว่าการปลูกพืชชนิดเดียว เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรโดยตรงเพราะว่าการปลูกพืชหมุนเวียน มีการปลูกพืช
                   มากกว่า 1 ชนิดสามารถควบคุมและลดการระบาดของโรคแมลงและวัชพืช

                                     6) การปลูกพืชแซม (Inter cropping) เป็นการปลูกพืชตั้งแต่ 2 ชนิด ขึ้นไปบนพื้นที่ใน
                  เวลาเดียวกัน โดยทำการปลูกพืชที่สองแซมลงในระหว่างแถวของพืชแรกหรือพืชหลักเพื่อการอนุรักษ์ดินและ

                  น้ำ โดยการเพิ่มประชากรพืชที่ปกคลุมดิน ช่วยลดการระเหยน้ำจากผิวดินลดการเสี่ยงต่อความเสียหายของพืช

                  ที่จะเกิดขึ้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตต่อพื้นที่ให้สูงขึ้นทำให้โรคแมลงและวัชพืชน้อยลง
                                     7) การปลูกพืชเหลื่อมฤดู (Relay cropping) เป็นการปลูกพืชต่อเนื่องคาบเกี่ยวกัน โดย

                   การปลูกพืชที่สองระหว่างแถวของพืชแรกในขณะที่พืชแรกให้ผลผลิตแต่ยังไม่แก่เต็มที่เพื่อการอนุรักษ์ดินและ
                   น้ำเพิ่มรายได้ต่อพื้นที่มากขึ้น โดยพืชแรกจะเป็นพืชพี่เลี้ยงให้กับพืชที่สอง เช่น ช่วยเป็นร่มเงา เป็นค้างหรือ

                   เป็นวัสดุคลุมดิน สามารถใช้พื้นที่ เวลา ความชื้น และปุ๋ยเคมีที่ตกค้างในดินให้เป็นประโยชน์กับพืชที่จะปลูก

                   ตามมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                                     8) การปลูกพืชระหว่างแถบไม้พุ่มบำรุงดิน (Alley cropping) เป็นการปลูกพืชระหว่าง

                   แถบไม้พุ่มบำรุงดินซึ่งปลูกตามแนวระดับเพื่อลดการชะล้างพังทลายของดินปรับปรุงโครงสร้างและความอุดม

                   สมบูรณของดินสามารถผลิตพืชผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการสร้างมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำที่
                   ลงทุนต่ำแต่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้ในพื้นที่ที่มีความลาดเทต่ำถึงความลาดชันสูงร่วมกับมาตรการ

                   อนุรักษ์อื่น ๆ ได้

                                     9) คันซากพืช (Contour trash line) เป็นการนำซากพืชที่เกิดจากการบุกเบิกพื้นที่หรือ
                   ที่เหลือหลังการเก็บเกี่ยวแล้วมาวางสุมให้สูงประมาณ 50 เซนติเมตร เป็นคันตามแนวระดับไวเป็นระยะ ๆ

                   ห่างกัน ประมาณ 20-40 เมตร หรือตามแนวคันดินกั้นน้ำเพื่อช่วยลดความเร็วของน้ำไหลบา และดักตะกอน
                   ดินและเพื่อใช้เศษเหลือของพืชให้เกิดประโยชนในการปรับปรุงบำรุงดินควรดำเนินการในขณะที่บุกเบิกพื้นที่

                   ใหม่และไม่มีทุนหรือเวลาเพียงพอในการทำคันดินแบบอื่น ซึ่งในอนาคตสามารถเปลี่ยนคันซากพืชให้เป็นแนว

                   คันดินได้
                                     10) ไม้บังลม (Wind break) เป็นแถบต้นไม้หรือหญ้าสูงที่ปลูกเป็นระยะ ๆ โดยมี

                   ระยะห่างของแถบที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสูญเสียดิน สูญเสียน้ำา และผลเสียหายที่จะเกิดแก่พืชอัน
                   เนื่องมาจากแรงลมเพื่อควบคุมการสูญเสียดินเนื่องจากแรงลม ลดความเสียหายของพืช อาทิเช่น การฉีกหัก

                   ของกิ่งไม้และการร่วงหลนของผลจากแรงลม ลดอัตราการระเหยของน้ำจากผิวดิน ผิวน้ำของอ่างเก็บน้ า และ

                   จากการคายน้ำของพืชลดความเสียหายอันเนื่องมาจากละอองเกลือในพื้นที่ใกล้ทะเล และเพื่อเสริมแถบหญ้า
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25