Page 29 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 29

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          18

                                                  ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินการ

                   ระยะเวลาดำเนินงาน  เริ่มต้นเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2560

                                         สิ้นสุดเดือน  กันยายน พ.ศ. 2563

                   สถานที่ดำเนินการ     1. สถานที่ตั้ง พื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่ม


                                                      วิธีการดำเนินการวิจัย
                          ดำเนินการศึกษาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยคัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มที่มีปัญหาความเสื่อมโทรม

                   ของทรัพยากร การชะล้างพังทลายของดิน และเผาไหม้ มีกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้

                          1) จัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
                          2) การวางแผนสำรวจ เก็บตัวอย่างดิน วิเคราะห์และประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                          3) วิเคราะห์การชะล้างพังทลายของดิน โดยแบบจำลอง MMF Model และศึกษาผลกระทบของการ

                   ชะล้างพังทลายของดินต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                          4) วิเคราะห์จุดความร้อน พื้นที่ถูกเผาไหม้ ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และศึกษา

                   ผลกระทบของการเผาไหม้ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                          5) สรุปผลการศึกษา

                   1. จัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

                          ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                          1.1 ข้อมูลสภาพภูมิอากาศด้านปริมาณน้ำฝน และข้อมูลอื่น ๆ จากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อเฝ้าติดตาม

                   การเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีการศึกษา
                          1.2 ข้อมูลการเผาไหม้ในพื้นที่ปลูกข้าวโพด จากเทคโนโลยีทางดาวเทียม ที่สามารถตรวจจับพิกัดที่

                   เกิดจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ แล้วมานำเข้าข้อมูลผ่านโปรแกรม ThaiCO HOTSPOT เพื่อประมวลผล
                                                                                     2
                   ออกมาเป็นพื้นที่ที่เกิดจุดไฟไหม้ (Hotspot) และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยจากพื้นที่ที่มีการเผา
                   เศษพืช หรือไฟป่า


                   2. การวางแผนสำรวจ เก็บตัวอย่างดิน วิเคราะห์และประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                          2.1 ทำการคัดเลือกพื้นที่เก็บตัวอย่างดิน และจัดเก็บตัวอย่าง

                          2.2 ดำเนินการวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการ
                          2.3 การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ตรวจสอบเอกสารที่มาของปัญหา

                   และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเคมีของดิน ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน ปัจจัยสำคัญที่ใช้ใน
                   การประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดังแสดงในตารางที่ 1
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34