Page 32 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 32
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
21
ข้อมูล ที่มาของข้อมูล
- ข้อมูลอัตราส่วนระหว่างการคายระเหยจริงกับการระเหยน้ำสูงสุด
(ratio of actual to potential evapotranspiration: E /E )
t 0
- ข้อมูลค่าการปกคลุมของพืชพันธุ์ (crop cover factor: C)
ข้อมูลความสูงภูมิประเทศ คำนวณจากข้อมูลเส้นความ
ข้อมูลระดับความสูงของภูมิประเทศ (Elevation) สูงเท่า (contour line) ที่มี
ระยะห่างชั้นละ 100 เมตร
3.3 การวิเคราะห์การชะล้างพังทลายของดิน โดย แบบจำลอง MMF
(1) ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา
ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่
- ข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายปี (annual rainfall: R)
- ข้อมูลจำนวนวันฝนตกในรอบปี (rainy day: Rn)
- ข้อมูลความหนักเบาของฝนสูงสุดในหนึ่งชั่วโมง (rainfall intensity: I)
ข้อมูลทั้ง 3 ประเภท ได้มาจากฐานข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยเป็นข้อมูลของปีที่ศึกษา ซึ่ง
ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณที่มีพิกัดทางภูมิศาสตร์ ซึ่งต้องนำมาเตรียมก่อนการวิเคราะห์ด้วยวิธีดังนี้
- นำเข้าข้อมูลเชิงปริมาณและพิกัดภูมิศาสตร์แบบ Latitude-Longitude ของแต่ละข้อมูลไปเป็น
ฐานข้อมูลตาราง Database File (.DBF)
- นำเข้าสู่ชั้นข้อมูล GIS จากโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
- แปลงพิกัดภูมิศาสตร์ลงสู่ระบบ UTM WGS 1984 Zone 47N
- ทำการกระจายค่าข้อมูลซึ่งเป็นจุดตามพิกัดลงสู่ทุกพื้นที่ โดยการ Interpolation โดยวิธี
Moving Average ด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักแบบ Inverse Distance ที่ขนาด grid cell size 100 x 100 ตาราง
เมตร เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป
(2) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับดิน
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับดินที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วย
- ข้อมูลความจุความชื้นของดินที่ระดับสนาม (moisture content at field capacity: MS)
- ข้อมูลความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density: BD)
- ข้อมูลดัชนีความคงทนของดินต่อการถูกกัดชะด้วยน้ำฝน (soil detachability index: K)
สำหรับข้อมูลความจุความชื้นของดินที่ระดับสนาม และข้อมูลความหนาแน่นรวมของดิน นำมาจาก
ฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของกรมพัฒนาที่ดิน ในส่วนของข้อมูลดัชนีความคงทนของดินต่อการ
ถูกกัดชะด้วยน้ำฝน อาศัยค่าที่ได้จากการตรวจเอกสารซึ่งอ้างอิงกับข้อมูลเนื้อดิน ซึ่งมาจากฐานข้อมูลในระบบ
สารสนเทศภูมิศาสตร์ของกรมพัฒนาที่ดินเช่นกัน สำหรับค่าดัชนีความคงทนของดินต่อการถูกกัดชะด้วยน้ำฝน
ที่นำมาใช้ ดังแสดงในตารางที่ 4