Page 27 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          16

                                                       งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


                          สหัสชัย และคณะ (2547) ศึกษาถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อผลผลิตทาง

                   การเกษตรพืชไรหลักในประเทศไทย ได้แก ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ในพื้นที่จังหวัดขอนแกน พบว่าการ
                   เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทำให้ผลผลิตจากข้าวโพดและอ้อยเพิ่มขึ้น แต่ผลผลิตจากมันสำปะหลังลดลง โดยการ

                   ปรับเปลี่ยนการให้ปุ๋ยจะช่วยลดปัญหาจากความแปรปรวนของผลผลิตที่เกิดจากผลกระทบ และยังช่วยลด

                   จำนวนวันออกดอก 2-4 วัน และวันสุกแก 3-10 วัน และเมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ระยะเวลาใน
                   การเติบโตของอ้อยจะสั้นลง อย่างไรก็ตามมวลชีวภาพของอ้อยที่ระยะใบที่ 14 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และ

                   ในปีที่มีฝนตกมากภายใต้สภาพอากาศที่คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น มวลชีวภาพของอ้อยที่ระยะใบที่ 14 จะ

                   ลดลง แต่ในปีที่ฝนตกน้อยในอนาคต มวลชีวภาพของอ้อยที่ระยะใบที่ 14 จากน้ำตาลอ้อยและลำต้นมี
                   แนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นไดชัด สวนผลผลิตจากสำปะหลังนั้นมีแนวโน้มลดลงในปีที่ฝนตกน้อยและปาน

                   กลาง แต่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีที่มีฝนมากภายใต้สภาพอากาศในอนาคตเมื่อความเข้มข้นของก๊าซ

                   คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นเป็น 540 และ 720 ppm แต่นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
                   ยังส่งผลให้วันแตกกิ่งของมันสำปะหลังเกิดเร็วขึ้นภายใต้สภาพอากาศที่ความเข้มข้นของก๊าซ

                   คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นเป็น 540 และ 720 ppm สวนค่าดัชนีการเก็บเกี่ยวลดลง เมื่อ
                   คาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น แต่ค่าดัชนีของพื้นที่ผิวใบ (leaf area index) จะเพิ่มขึ้น ยกเว้นในช่วงปีที่มีฝนตก

                   น้อย  นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลกระทบในทางบวกจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต่อผลผลิตอ้อยในจังหวัด

                   ขอนแกน และจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไดใช้เครื่องมือและชุดข้อมูลเดียวกัน
                          อุมาพร (ม.ป.ป) ทำการศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อปริมาณและคุณภาพอาหารสัตว์

                   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อปริมาณและคุณภาพอาหารสัตว์ โดยสถิติ
                   อุณหภูมิของโลกที่มีการบันทึกไว้ในช่วง ค.ศ. 1880-2010 แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิของโลกค่อยๆ สูงขึ้นอย่าง

                   ต่อเนื่อง เป็นผลให้โลกมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) และปริมาณน้ำมากขึ้นด้วย และปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อ
                                                               2
                   ปริมาณและคุณภาพอาหารสัตว์ จากเอกสารงานวิจัยที่ใช้แบบจำลองในการทำนายผลผลิตพืชในปีค.ศ. 2021-
                   2050 แสดงให้เห็นว่า ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวโพด และมันสำปะหลังจะมีผลผลิตลดลงประมาณ 8-43% ขึ้นอยู่

                   กับชนิดของพืช และพื้นที่เพาะปลูก ในด้านคุณภาพของพืชอาหารสัตว์นั้น ส่วนใหญ่ข้อมูลชี้ว่า การย่อยได้ของ

                   โปรตีนและเยื่อใยจะลดลง
                          กรมพัฒนาที่ดิน (2543) กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2541 พื้นที่เกษตรกรรมของประเทศไทยมีปัญหาการ

                   ชะล้างพังทลายของดิน 188,387,596 ไร่ หรือร้อยละ 58.74 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหาการชะล้างพังทลายของ

                   ดินที่รุนแรงและต้องแก้ไขโดยด่วนประมาณ 108.3 ล้านไร่
                          อดิเรก และคณะ (2561) พบว่า  ในปี 2557 และ 2558 แปลงปลูกข้าวโพดที่มีการเผาในระหว่างการ

                   เตรียมดิน มีการสูญเสียไนโตรเจนมากที่สุดเท่ากับ 29.3 และ 18.1 ตันต่อไร่ต่อปี ส่วนปริมาณการชะล้าง
                   พังทลายของดินนั้น แปลงปลูกข้าวโพดที่มีการเผาซากและไม่เผาซากในระหว่างการเตรียมดิน มีความแตกต่าง

                   กันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยวิธีการปลูกข้าวโพดที่มีการเผาในระหว่างการเตรียมดิน จะมีปริมาณการ

                   ชะล้างพังทลายของดินสูงที่สุด
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32