Page 33 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 33
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
22
ตารางที่ 4 ค่าดัชนีความคงทนของดินต่อการถูกกัดชะด้วยน้ำฝนจำแนกตามเนื้อดิน
เนื้อดิน ดัชนีความคงทนของดินต่อการถูกกัดชะด้วยน้ำฝน: K (กรัมต่อจูล)
Sand 1.20
Loamy sand 0.30
Sandy loam 0.70
Loam 0.80
Silt 1.00
Silt loam 0.90
Sandy clay loam 0.10
Clay loam 0.70
Silt clay loam 0.80
Sandy clay 0.30
Silt clay 0.50
Clay 0.05
ที่มา: Morgan (2001)
สำหรับวิธีการเตรียมข้อมูลก่อนการนำไปวิเคราะห์มีดังนี้
- ป้อนค่าของข้อมูลที่ได้จากการตรวจเอกสารเข้าสู่ฐานข้อมูลกายภาพของดินในรูปแบบข้อมูล
ตารางของโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
- ทำการกระจายค่าข้อมูลซึ่งเป็นจุดตามพิกัดลงสู่ทุกพื้นที่โดยการ Interpolation โดยวิธี Moving
Average ด้วยวิธีการถ่วงน้ำหนักแบบ Inverse Distance ที่ขนาด grid cell size 100 x 100 ตารางเมตร
เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไป
(3) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นประกอบด้วย
- ข้อมูลค่าการปกคลุมของพืชพันธุ์ (crop cover factor: C)
- ข้อมูลร้อยละของน้ำฝนที่พืชยึดไว้ (crop interception percent factor: A)
- ข้อมูลอัตราส่วนระหว่างการคายระเหยจริงกับการระเหยน้ำสูงสุด (ratio of actual to
potential evapotranspiration: E /E )
t 0
- ข้อมูลความลึกของน้ำในดินที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ (rooting depth: RD)
ข้อมูลของค่าการปกคลุมของพืชพันธุ์ที่นำมาใช้เป็นค่าที่ได้จากการตรวจเอกสาร ซึ่งได้จัดทำไว้โดย
กรมพัฒนาที่ดิน (2545) ข้อมูลค่าการปกคลุมของพืชพันธุ์ (crop cover factor: C) ในที่นี้เป็นผลคูณระหว่าง
ค่าปัจจัยการจัดการพืช (crop management factor: C) และค่าการปฏิบัติป้องกันการชะล้างพังทลาย
ของดิน (practice factor: P) ที่ใช้ในสมการสูญเสียดินสากล เพื่อแสดงถึงความสามารถของพืชคลุมดินที่มี