Page 31 - ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน้ำแม่แจ่มตอนล่าง Climate Change and Hotspot Impact for Soil Fertility and Soil Erosion in Corn Acreage. Lower Part of Nam Mae Cham Basin Area.
P. 31
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
20
นำค่าระดับคะแนนของปัจจัยทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการซ้อนทับเชิงพื้นที่ (Overlay) จากนั้น
นำมาจำแนกระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินออกเป็นระดับสูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก แล้วจัดทำ
เป็นแผนที่ระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
3. วิเคราะห์การชะล้างพังทลายของดิน โดยแบบจำลอง MMF Model และศึกษาผลกระทบของ
การชะล้างพังทลายของดินต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ในการออกแบบการจัดทำแผนที่การชะล้างพังทลายของดิน ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและใช้
ในแบบจำลอง และนำมาจัดทำกระบวนการในการจัดการข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่
(Spatial Data) และข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ (Attribute Data) เพื่อให้กระบวนการดังกล่าวสอดคล้องกับ
การศึกษา และสามารถดำเนินการได้โดยคำสั่งของโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่ใช้
3.1 การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยข้อมูลทั้งในรูปแบบที่เป็นแผนที่
ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และข้อมูลดิจิตอลที่มีพิกัดของจุดข้อมูลที่แน่นอน
3.2 การเตรียมข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาจัดเตรียมเป็นชั้นข้อมูลในรูปแบบของระบบ
สารสนเทศภูมิศาสตร์ ดังแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 3 การเตรียมข้อมูลที่ใช้ประมวลผลในแบบจำลอง MMF
ข้อมูล ที่มาของข้อมูล
ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา เตรียมโดยการใช้ข้อมูลจาก
- ข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายปี (annual rainfall: R) จากสถานีตรวจวัดสภาพ
- ข้อมูลจำนวนวันฝนตกในรอบปี (rainy day: Rn) อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาของ
- ข้อมูลความหนักเบาของฝนสูงสุดในหนึ่งชั่วโมง (rainfall intensity: ปีที่ศึกษา
I)
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับดิน เตรียมจากฐานข้อมูลสมบัติ
- ข้อมูลความจุความชื้นของดินที่ระดับสนาม (moisture content at ทางกายภาพของดินของกรม
field capacity: MS) พัฒนาที่ดิน ร่วมกับการใช้ค่า
- ข้อมูลความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density: BD) จากการตรวจเอกสาร
- ข้อมูลดัชนีความคงทนของดินต่อการถูกกัดชะด้วยน้ำฝน
(soil detachability index: K)
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เตรียมขึ้นจากฐานข้อมูลการ
- ข้อมูลร้อยละของน้ำฝนที่พืชยึดไว้ (crop interception percent ใช้ประโยชน์ที่ดินในปี 2561 –
factor: A) 2563 โดยการใช้ค่าจากการ
- ข้อมูลความลึกของน้ำในดินที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ (rooting ตรวจเอกสาร
depth: RD)