Page 35 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           23

                          ส าหรับวิธีการเตรียมข้อมูลก่อนการน าไปวิเคราะห์มีดังนี้

                                 - ป้อนค่าของข้อมูลที่ได้จากการตรวจเอกสาร เข้าสู่ฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินใน
                   รูปแบบข้อมูลตารางของโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

                                 - ท าการแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบพื้นที่ปิด (polygon) ซึ่งเป็นข้อมูลแบบ vector ให้อยู่ใน
                   รูปแบบของ raster ที่ขนาด grid cell size 100 x 100 ตารางเมตร
                                 (4) ข้อมูลระดับความสูงของภูมิประเทศ

                                 ข้อมูลที่น ามาใช้ในการหาระดับความสูงของภูมิประเทศ คือข้อมูลเส้นความสูงเท่า (contour
                   line) ที่มีระยะห่างกันชั้นละ 100 เมตร มีวิธีการเตรียมข้อมูลให้เป็นความสูงของภูมิประเทศดังนี้
                                 - แปลงข้อมูลเส้นชั้นความสูงเท่าจากรูปแบบของโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
                                 - ท าการกระจายค่าข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบเส้นชั้นความสูงเท่าโดยวิธี Interpolation เพื่อ

                   สร้างข้อมูล Digital Elevation Model (DEM) ด้วย Algorithm ที่ขนาด grid cell size 100 x 100 ตาราง
                   เมตร เพื่อน าไปวิเคราะห์ต่อไป

                                 (5) การจัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายของดินรายปี โดยแบบจ าลอง MMF
                                 ในการศึกษาครั้งนี้ได้จัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายของดินรายปีขึ้นโดยใช้แบบจ าลอง
                   MMF ของปีที่ศึกษา โดยใช้วิธีการจัดท าแบบเดียวกัน ทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับดิน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการ

                   ใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อมองในภาพรวมของพื้นที่ศึกษา แต่
                   ส าหรับข้อมูลทางด้านสภาพภูมิอากาศที่น ามาใช้ จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละปี เนื่องจากข้อมูลสภาพ
                   ภูมิอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนในแต่ละปี

                                 การจัดท าแผนที่การชะล้างพังทลายของดินรายปีโดยแบบจ าลอง MMF จะแบ่งการพิจารณา
                   ออกเป็น 2 กระบวนการ คือ กระบวนการแตกกระจายของเม็ดดินที่เกิดจากเม็ดฝน (soil detachment
                   phase) และกระบวนการพัดพาอนุภาคดินที่แตกกระจายไปกับน้ าไหลบ่าหน้าดิน (soil transportation
                   phase) อันเป็นแนวคิดของแบบจ าลอง MMF ซึ่งมีวิธีการศึกษาดังนี้
                                   (5.1) การประเมินการแตกกระจายของดินอันเนื่องมาจากฝน (soil detachment phase)

                          การจัดท าแผนที่ปริมาณการแตกกระจายของเม็ดดิน (soil detachment) ท าได้โดยการค านวณ
                   พลังงานของน้ าฝนที่จะก่อให้เกิดการแตกกระจายของเม็ดดิน แล้วน าพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นมาประเมินปริมาณ
                   ดินที่กระจายออกเป็นเม็ดดิน ซึ่งมีขั้นตอนในการศึกษาดังนี้

                                   - การหาพลังงานจลน์ของเม็ดฝน (kinetic energy of rainfall)
                                   การหาพลังงานจลน์ของเม็ดฝนที่จะก่อให้เกิดการแตกตัวของดิน ในที่นี้ได้ใช้สมการของ
                   Hudson ที่ได้ท าการทดลองหาพลังงานจลน์ของเม็ดฝนในประเทศ Zimbabwe ซึ่งสมการของ Hudson นี้ได้
                   พัฒนาขึ้นเพื่อให้เหมาะส าหรับการใช้กับประเทศในเขตร้อนชื้น

                                   การวิเคราะห์ท าโดยการน าข้อมูลปริมาณน้ าฝนรายปี (annual rainfall) ในหน่วย
                   มิลลิเมตร และข้อมูลความหนักเบาของฝนสูงสุดในหนึ่งชั่วโมง (rainfall intensity) ในหน่วยมิลลิเมตรต่อ
                   ชั่วโมง ที่อยู่ในรูปข้อมูลแบบ raster ขนาด grid cell size 100 x 100 ตารางเมตร มาท าการวิเคราะห์ตาม
                   สมการของ Hudson เพื่อที่จะได้ข้อมูลพลังงานจลน์ของฝน (kinetic energy of rainfall) ในหน่วยจูลต่อ

                   ตารางเมตร ในรูปข้อมูลแบบ raster ที่ขนาดมี grid cell size 100 x 100 ตารางเมตร สมการการหาพลังงาน
                   จลน์ของฝน คือ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40