Page 30 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           18

                          4. การเก็บตัวอย่าง แบ่งเป็นการการเก็บข้อมูลด้านดิน และพืช

                            4.1 การเก็บข้อมูลดิน เพื่อศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในดิน และวิเคราะห์สมบัติทางเคมี ได้แก่
                   คาร์บอนในดิน การวิเคราะห์ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าการน า
                   ไฟฟ้า และความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดินและสมบัติทางกายภาพของดิน ได้แก่ การวิเคราะห์
                   ความชื้น และความหนาแน่นรวมของดิน

                            4.2 วัดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้เครื่อง LI-8100 Soil CO2 Flux
                   Measurements เพื่อศึกษาการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อพื้นที่
                            4.3 การเก็บข้อมูลทางด้านสรีระข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เช่น บันทึกการเจริญเติบโต น้ าหนักฝัก น้ าหนัก
                   เมล็ด น้ าหนักแห้งต้นเพื่อศึกษามวลชีวภาพ และผลผลิต

                              โดยท าการทดลอง ปีที่ 2 ด าเนินการทดลองเช่นเดียวกับปีแรก เพื่อศึกษาผลของการจัดการธาตุ
                   อาหารที่แตกต่างกัน ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจปีที่ 3 ด าเนินการทดลอง
                   เพื่อสรุปผลของการจัดการธาตุอาหารที่แตกต่างกัน ต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต สมบัติดิน ความอุดมสมบูรณ์
                   ของดิน และ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเพื่อน าไปประยุกต์ใช้ และขยายผลไปยังเกษตรกรใกล้เคียง

                          5. การวิเคราะห์ข้อมูล
                          น าข้อมูลด้านดิน และพืช มาวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ทางสถิติ IBM SPSS
                   Statistics version 23 การวิเคราะห์ข้อมูล อิทธิพลของการเผาและการจัดการธาตุอาหารที่แตกต่างกัน โดย
                   การวิเคราะห์ ANOVA ด้วยวิธี DMRT (Duncan’s Multiple Range Test)


                   ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเผาไหม้ในพื นที่เกษตรกรรม ต่อความอุดม

                   สมบูรณ์ของดิน และการชะล้างพังทลายของดิน ในพื นที่ปลูกข้าวโพด บริเวณลุ่มน ้าแม่แจ่มตอนล่าง

                   วิธีการ

                          1. จัดท าฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
                            1.1 ข้อมูลสภาพภูมิอากาศด้านปริมาณน้ าฝน และข้อมูลอื่นๆ จากกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อเฝ้า

                   ติดตามการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปีการศึกษา
                            1.2 ข้อมูลการเผาไหม้ในพื้นที่ปลูกข้าวโพด จากเทคโนโลยีทางดาวเทียม ที่สามารถตรวจจับพิกัดที่
                   เกิดจุดความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ แล้วมาน าเข้าข้อมูลผ่านโปรแกรม ThaiCO2HOTSPOT เพื่อประมวลผล

                   ออกมาเป็นพื้นที่ที่เกิดจุดไฟไหม้ (Hotspot) และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลดปล่อยจากพื้นที่ที่มีการเผา
                   เศษพืช หรือไฟป่า
                          2. การวางแผนส ารวจ เก็บตัวอย่างดิน วิเคราะห์และประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                            2.1 ท าการคัดเลือกพื้นที่เก็บตัวอย่างดิน และจัดเก็บตัวอย่าง

                            2.2 ด าเนินการวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยวิเคราะห์ตัวอย่างดินในห้องปฏิบัติการ
                            2.3 การประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ตรวจสอบเอกสารที่มาของปัญหา
                   และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเคมีของดิน ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชในดิน ปัจจัยส าคัญที่ใช้ใน
                   การประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยน ามาจ าแนกออกเป็นระดับต่าง ๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว

                   ให้ค่าคะแนน โดยถ้ามีเกณฑ์ระดับสูงมากให้ค่าคะแนนเป็น 5 ระดับสูงให้ค่าคะแนนเป็น 4 ระดับปานกลางให้
                   ค่าคะแนนเป็น 3 ระดับต่ าให้ค่าคะแนนเป็น 2 และระดับต่ ามากให้ค่าคะแนนเป็น 1 ดังแสดงในตารางที่ 2
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35