Page 37 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 37

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           25

                                   - การหาปริมาณน้ าฝนที่ดินสามารถซึมซับไว้ได้ (soil moisture capacity under actual

                   vegetation)
                                   การหาปริมาณน้ าฝนที่ดินสามารถซึมซับไว้ได้ จะอาศัยข้อมูลที่เกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพ
                   ของดิน 2 ปัจจัยคือ ข้อมูลความจุความชื้นของดินที่ระดับสนาม (moisture content at field capacity: MS
                   ) ในหน่วยเปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนักต่อน้ าหนัก และข้อมูลความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density: BD)

                   ในหน่วยเมกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยน าปัจจัยทั้ง 2 มาพิจารณาร่วมกับปัจจัยที่เกี่ยวกับพืชอีก 2 ปัจจัยคือ
                   ข้อมูลอัตราส่วนระหว่างการคายระเหยจริงกับการระเหยน้ าสูงสุด (ratio of actual to potential
                   evapotranspiration: Et/E0) และข้อมูลความลึกของน้ าในดินที่พืชน าไปใช้ประโยชน์ได้ (rooting depth:
                   RD) ในหน่วยเมตร ซึ่งในการประมวลผลจะใช้ข้อมูลที่ได้จากการเตรียมข้อมูลมาประมวลผลในสมการต่อไปนี้

                                                                            0.05
                                                 Rc = 1000.MS.BD.RD.(Et/E0)
                          Rc = ปริมาณน้ าฝนที่ดินสามารถซึมซับไว้ได้ (soil moisture capacity under actual vegetation)
                   ในหน่วยมิลลิเมตร
                          MS = ความจุความชื้นของดินที่ระดับสนาม (moisture content at field capacity) ในหน่วย

                   เปอร์เซ็นต์โดยน้ าหนักต่อน้ าหนัก
                          BD = ข้อมูลความหนาแน่นรวมของดิน (bulk density) ในหน่วย เมกะกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                          RD = ความลึกของน้ าในดินที่พืชน าไปใช้ประโยชน์ได้ (rooting depth) ในหน่วย เมตร
                          Et/E0 = อัตราส่วนระหว่างการคายระเหยจริงกับการระเหยน้ าสูงสุด (ratio of actual to potential

                   evapotranspiration)


                                   - การหาปริมาณน้ าไหลบ่าหน้าดิน (overland flow)
                                   การหาปริมาณน้ าไหลบ่าหน้าดิน (overland flow) เป็นการน าเอาข้อมูลปริมาณน้ าฝน
                   ที่ดินสามารถซึมซับไว้ได้ (soil moisture capacity under actual vegetation) มาพิจารณาร่วมกับปริมาณ
                   น้ าฝนเฉลี่ยต่อวันในหนึ่งปี (mean rain per rainy day) โดยค่าที่ได้จะน ามาพิจารณาร่วมกับปริมาณน้ าฝน
                   รายปี (annual rainfall) อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะให้ผลออกมาเป็นปริมาณน้ าไหลบ่าที่เกิดขึ้น (overland flow) ใน

                   หน่วย มิลลิเมตร โดยการพิจารณานั้นเป็นไปตามสมการต่อไปนี้
                                                        Q = R.exp (-RC/R0)
                          Q  = ปริมาณน้ าไหลบ่าหน้าดิน (overland flow) ในหน่วย มิลลิเมตร

                          R  = ข้อมูลปริมาณน้ าฝนรายปี (annual rainfall) ในหน่วย มิลลิเมตร
                          Rc  = ปริมาณน้ าฝนที่ดินสามารถซึมซับไว้ได้ (soil moisture capacity under actual
                   vegetation) ในหน่วย มิลลิเมตร
                          R0  = น้ าฝนเฉลี่ยต่อวันในหนึ่งปี (mean rain per rainy day) ในหน่วย มิลลิเมตรต่อวัน

                                   - การหาปริมาณอนุภาคดินที่ถูกพัดพา (soil transportation)

                                   ในการจัดท าแผนที่ปริมาณอนุภาคดินที่ถูกพัดพา (soil transportation) ท าได้โดยน าค่า
                   ของปริมาณน้ าไหลบ่าหน้าดินมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลค่าการปกคลุมของพืชพันธุ์ (crop cover factor: C)
                   รวมถึงค่าความลาดชันของภูมิประเทศในหน่วยองศา (slope gradient) ซึ่งค่าของความลาดชันนี้สามารถหา
                   ได้จากข้อมูลความสูงของระดับภูมิประเทศ เมื่อได้ข้อมูลครบทั้ง 3 ปัจจัยแล้วจึงน ามาประมวลผลตามสมการ
                   ดังต่อไปนี้
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42