Page 39 - ศึกษาผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุทางเกษตรต่อการปลูกพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่แจ่มและศึกษาการชะล้างพังทลายของดินด้วยแบบจำลองการสูญเสียดินสากล
P. 39

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           27

                   ตารางที่ 7 การจัดระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย

                                                                               อัตราการสูญเสียดิน
                        ระดับความรุนแรงของการชะล้างพังทลายของดิน
                                                                        ตัน/ไร่/ปี           มิลลิเมตร/ปี
                                      พื นที่ราบ
                    1L : น้อยมาก (very slight)                            0 – 2               0 – 0.96
                    2L : น้อย (slight)                                    2 – 5              0.96 – 2.40
                    3L : ปานกลาง (moderate)                              5 - 15              2.40 – 7.20
                    4L : รุนแรง (severe)                                 15 – 20             7.20 – 9.60
                    5L : รุนแรงมาก (very severe)                       มากกว่า 20            มากกว่า 9.60
                                       พื นที่สูง
                    1H : น้อยมาก (very slight)                            0 – 2               0 – 0.96
                    2H : น้อย (slight)                                    2 – 5              0.96 – 2.40
                    3H : ปานกลาง (moderate)                              5 - 15              2.40 – 7.20
                    4H : รุนแรง (severe)                                 15 – 20             7.20 – 9.60

                    5H : รุนแรงมาก (very severe)                       มากกว่า 20            มากกว่า 9.60
                   หมายเหตุ:  พื้นที่ราบ หมายถึง ที่ราบล าน้ า ที่ลาดเชิงเขา และเนินเขาความลาดชันน้อยกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
                              พื้นที่สูง หมายถึง ภูเขาและที่ลาดหุบเขาความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
                   ที่มา: ดัดแปลงจากการชะล้างพังทลายของดินในประเทศไทย (กรมพัฒนาที่ดิน, 2545)


                          4. วิเคราะห์จุดความร้อน พื้นที่ถูกเผาไหม้ ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และศึกษา
                   ผลกระทบของการเผาไหม้ต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                          การส ารวจจ านวนจุดความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นส ารวจและรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลดาวเทียมระบบเซนเซ

                   อร MODIS ซึ่งเป็นเครื่องวัดคลื่นเชิงสเปกตรัมที่ถูกติดตั้งบนดาวเทียม Terra และ Aqua ถูกออกแบบขึ้นเพื่อ
                   ใชในการติดตามและตรวจสอบข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสภาพสิ่งแวดลอมในระดับภูมิภาค หลังจากนั้น
                   น าเข้าข้อมูลในโปรแกรม ThaiCO2HOTSPOT ของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดท าขึ้นมาเพื่อ
                   รายงานสถานการณ์การเกิดไฟป่าและการเผาไหม้เศษพืชในพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งจะสามารถค านวณการปล่อย

                   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียมรายงานสถานที่แท้จริงที่เกิดไฟไหม้ของประเทศไทย
                   แล้วน ามาประมวลผลผ่านโปรแกรม ThaiCO2HOTSPOT รวมถึงข้อมูลจากการส ารวจพื้นที่จริง (Ground
                   Truth Survey) เพื่อน ามาเตรียมข้อมูลในรูประบบสารสนเทศภูมิศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง

                          การประเมินพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้จากการประมวลผลข้อมูลจุดความร้อนจากภาพถ่ายดาวเทียมระบบ
                   MODIS
                            4.1 แปลงข้อมูลจุดความร้อนให้เป็นพื้นที่ โดยจุดความร้อนนั้นได้จากการตรวจจับการเปลี่ยนแปลง
                   ของอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกอย่างรวดเร็ว ดาวเทียมระบบ MODIS ที่มีขนาดจุดภาพ 1000 x 1000 เมตร จะท า
                   การตรวจวัดต าแหน่งที่เกิดไฟไหม้ภายในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร แล้วประมวลผลเป็น 1 จุดความร้อน หรือถ้า

                   มีต าแหน่งไฟไหม้มากกว่า 1 จุดภายในพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตรเดียวกัน จะนับเป็น 1 จุดความร้อนเช่นกัน
                   ดังนั้นขนาดของพื้นที่จุดความร้อน 1 จุด จะประเมินจากขนาดของจุดภาพของดาวเทียมระบบ MODIS ที่มี
                   ขนาดจุดภาพ 1000 x 1000 เมตร (ปัณณธร และคณะ, 2561) (จุดความร้อน 1 จุด จะมีพื้นที่เท่ากับ 1000 x

                   1000 ตารางเมตร)
                          ในการประเมินขนาดของพื้นที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์แปลงข้อมูลจุด (Point) ให้เป็น
                   ข้อมูลราสเตอร์ (Raster) ที่มีขนาด 1000 x 1000 เมตร และแปลงข้อมูลเป็นเชฟไฟล์ (Shapefile) ในรูปแบบ
                   รูปหลายเหลี่ยม (Polygon) เพื่อน าไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ต่อไป ดังแสดงในภาพที่ 5
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44