Page 19 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           9

                   ค่าใช้จ่ายสูง ส่วนใหญ่จึงนิยมใช้วิธีส ารวจเก็บตัวอย่างดิน และพืชจากแปลงเกษตรกร ทั้งบริเวณที่ให้ผลผลิต

                   ต่ า และบริเวณที่ให้ผลผลิตสูง (สุมิตรา และวิเชียร, 2546; จ าเป็น และคณะ, 2549; สมศักดิ์, 2551; ภรภัทร
                   และสมศักดิ์, 2559) จากนั้นน าข้อมูลมาหาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของธาตุอาหาร กับปริมาณ

                   ผลผลิต ทั้งนี้การใช้วิธีส ารวจสถานะของธาตุอาหารในดิน และพืช ต้องค านึงถึงขั้นตอนและรายละเอียดต่างๆ

                   ตั้งแต่วิธีการเก็บตัวอย่าง การเตรียมตัวอย่าง เทคนิคการวิเคราะห์ดินและพืชที่ใช้ ตลอดจนเทคนิคการ
                   วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยาก และใช้ระยะเวลานาน เพื่อให้ได้มาซึ่งค่า

                   มาตรฐานที่มีความถูกต้อง และแม่นย า จากการรวบรวมเอกสาร พบว่า เทคนิคที่นิยมใช้จัดท าค่ามาตรฐานพืช

                   จากการส ารวจ มีอยู่ 3 วิธี คือ 1) การประเมินจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง 2) การใช้วิธีเส้นขอบเขต
                   (จ าเป็น และคณะ, 2549) และ 3) การใช้สมการพหุนามก าลังสอง (ภรภัทร และสมศักดิ์, 2559)


                          3.1 การประเมินจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง (high yield method)

                                 การจัดท าค่ามาตรฐานธาตุอาหารพืชจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง อาศัยหลักการที่ว่าสถานะธาตุ

                   อาหารในดิน และพืชจากบริเวณที่ให้ผลผลิตดี คือสถานะความเข้มข้นของธาตุอาหารในช่วงที่เพียงพอต่อ
                   ความต้องการของพืช โดยจะวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในดิน และพืชจากพื้นที่ดังกล่าวในปริมาณที่มากพอ

                   จากนั้นน าความเข้มข้นธาตุอาหารจากต้นที่ให้ผลผลิตสูงไปประมาณช่วงความเข้มข้นที่ระดับความเชื่อมั่น
                   95 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป เพื่อประเมินปริมาณธาตุอาหารที่เพียงพอส าหรับพืชชนิดนั้นๆ จากการก าหนดช่วง

                   ความเข้มข้นมาตรฐานของธาตุอาหาร จากต้นที่ให้ผลผลิตสูงในลองกอง ทุเรียน และมังคุด พบว่า ให้ผลเป็นที่

                   น่าพอใจ สอดคล้องกับการใช้วิธีเส้นขอบเขต (ตารางที่ 1) อย่างไรก็ตาม การใช้เทคนิคนี้อาจรวมธาตุอาหารใน
                   ส่วนที่บริโภคฟุ่มเฟือยเอาไว้ด้วย เนื่องจากบริเวณพื้นที่ให้ผลผลิตสูงส่วนใหญ่มักมีการใส่ปุ๋ยในปริมาณมาก จน

                   เกินความต้องการของพืช ค่ามาตรฐานที่ได้จึงอาจสูงกว่าความเป็นจริง (สุมิตรา และคณะ, 2547)


                   ตารางที่ 1 ค่ามาตรฐานความเข้มข้นธาตุอาหารในใบพืชบางชนิดโดยประเมินจากต้นที่ให้ผลผลิตสูง

                    ธาตุอาหารในระดับที่เพียงพอ (g/kg)   1/ ลองกอง         2/ ทุเรียน            3/ มังคุด

                                  N                  22.95-25.37        20.00-23.00           11.00-14.00
                                  P                    1.83-2.07         1.50-2.50             0.50-0.80

                                  K                  18.67-20.85        17.00-25.00           0.60-11.00

                                 Ca                  10.93-13.93        15.00-25.00           11.00-14.00
                                 Mg                    2.67-3.37         3.50-6.00            12.00-18.00

                   ที่มา:   จ าเป็น และคณะ (2549)
                          1/
                          2/ สุมิตรา และคณะ (2544)

                          3/ สุมิตรา และคณะ (2547)
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24