Page 14 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           4

                   สมบูรณ์ มีตา 2-3 ตา น้ าหนักประมาณ 10-20 กรัมต่อแง่ง ส่วนการใช้หัวแม่ ให้ใช้ 1 หัวต่อหลุม แต่หากหัว

                   พันธุ์มีขนาดใหญ่ให้ตัดเป็นท่อน ๆ แต่ต้องมีตาติดอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ตา เช่นเดียวกับการใช้แง่ง การปลูกใช้
                   ระยะ 35 x 50 เซนติเมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร เริ่มปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณปลาย

                   เดือนเมษายน ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 30-70 วันหลังปลูก ในระยะนี้หาก

                   ฝนไม่ตกจ าเป็นต้องให้น้ า หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-11 เดือน จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
                   (สุภาภรณ์,2558) ปัจจุบันขมิ้นชันจัดเป็นพืชสมุนไพร 1 ใน 6 ชนิดของยาบัญชีหลัก เนื่องจากมีส่วนประกอบ

                   ของสารส าคัญประเภทเคอร์คูมินอยด์ เป็นสารสีเหลืองส้ม หรือสีเหลืองแดง และน้ ามันหอมระเหยมีสีเหลือง

                   อ่อน ซึ่งขมิ้นชันที่ดีต้องมีปริมาณเคอร์คูมินอยด์ค านวณเป็นเคอร์คูมินไม่น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ าหนัก
                   และน้ ามันหอมระเหยไม่น้อยกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตรต่อน้ าหนัก ตามมาตรฐานของต ารับยาสมุนไพร

                   ไทย หรือตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกต้องไม่น้อยกว่า 3 และ 4 เปอร์เซ็นต์ ตามล าดับ สารเคอร์คูมิ
                   นอยด์ในขมิ้นชันมีฤทธิ์ทางยาที่ส าคัญคือกระตุ้นการขับน้ าดีท าให้การย่อยอาหารดีขึ้นลดการบีบตัวของล าไส้

                   ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารลดการอักเสบต้านอนุมูลอิสระต้านเชื้อแบคทีเรียต้านเชื้อรา ปัจจุบันจึง

                   เป็นที่ต้องการของตลาดยา (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2548)


                   2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธาตุอาหารพืช (theory of plant nutrient management)
                          ธาตุอาหารที่จ าเป็นส าหรับพืชมี 17 ธาตุ แบ่งเป็นกลุ่มที่พืชได้รับจากน้ าและอากาศ 3 ธาตุ คือ

                   คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่จึงเป็นธาตุที่มีเพียงพอ ส่วนธาตุอีกกลุ่มพืชได้รับจากดิน และมัก

                   เป็นธาตุที่จ ากัดผลผลิตพืช แบ่งเป็นมหธาตุ จัดเป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณสูง มี 6 ธาตุ คือ ไนโตรเจน
                   ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และก ามะถัน โดยมีความเข้มข้นของธาตุอาหารโดยน้ าหนัก

                   แห้ง เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มวัยสูงกว่า 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้พืชทุกชนิดยังต้องการธาตุอาหาร

                   กลุ่มจุลธาตุ เป็นธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ มี 8 ธาตุ คือ เหล็ก แมงกานีส ทองแดง
                   สังกะสี โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีน และนิเกิล (ยงยุทธ, 2552) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมหธาตุเป็นธาตุที่พืช

                   ต้องการในปริมาณมาก ส าหรับใช้ในกระบวนการเจริญเติบโต และสร้างองค์ประกอบผลผลิต ซึ่งส่วนใหญ่มักมี

                   การสูญเสียไปกับผลผลิตอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการผลิตพืชในเชิงการค้า มหธาตุจึงมักเป็นธาตุที่มีไม่เพียงพอ
                   และมักเป็นปัจจัยจ ากัดผลผลิตพืชในวงกว้าง ประกอบกับการจัดการธาตุอาหารที่พืชได้รับจากดินมีความ

                   ซับซ้อน เนื่องจากธาตุอาหารมีหลายธาตุ และมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน
                   เช่น สภาพแวดล้อมในพื้นที่ วัตถุต้นก าเนิดดิน  สัดส่วนความสมดุลของธาตุอาหารแต่ละชนิด รวมถึงการ

                   จัดการธาตุอาหารของเกษตรกร ซึ่งหากมีการจัดการธาตุอาหารที่ไม่ถูกต้องยิ่งเป็นปัจจัยเร่ง ลดความเป็น
                   ประโยชน์ของธาตุอาหารที่พืชจะได้รับ จนส่งผลยับยั้งการเจริญเติบโต และท าให้ผลผลิตพืชลดลงในที่สุด

                   ดังนั้นเพื่อให้การจัดการธาตุอาหารในดินมีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของพืช จึงได้มีผู้เสนอ

                   ทฤษฎีส าหรับน ามาใช้เป็นแนวทางในการจัดการธาตุอาหารพืช ซึ่งปัจจุบันทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและได้รับการ
                   ยอมรับ มีการน าไปใช้อย่างกว้างขวาง พบว่ามีอยู่ 3 ทฤษฎี 1) ทฤษฎีถังไม้โอ๊ค 2) ทฤษฎีการตอบสนองต่อ

                   ธาตุอาหาร และ 3) ทฤษฎีการจัดการธาตุอาหารแบบสมดุลมวล
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19