Page 24 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          14

                          การใช้สมการพหุนามก าลังสองเพียงอย่างเดียวจึงไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ แต่เมื่อน าเทคนิควิธี

                   เส้นขอบเขตมาใช้ร่วมกับสมการพหุนามก าลังสอง สามารถก าหนดค่ามาตรฐานของธาตุอาหารได้ ซึ่งพบว่า
                   ความเข้มข้นของไนโตรเจนในใบยางพาราที่ให้ผลผลิตน้ ายางสูงสุดมีความเข้มข้นประมาณ 3.3 เปอร์เซ็นต์

                   (Banneheka et al., 2013) นอกจากนี้ยังมีรายงานการใช้วิธีดังกล่าวกับพืชชนิดอื่น เช่น กระบองเพชร

                   (Blanco-Macias et al., 2009) มะม่วงหิมพานต์ (Widiatmaka et al., 2014) เมล่อน (Maia et al., 2016)
                   และ บลูเบอร์รี่ (Lafond, 2009) แต่เหนือสิ่งอื่นใดการจัดท าค่ามาตรฐานธาตุอาหารพืชจะยึดติดกับวิธีใดวิธี

                   หนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ทั้งนี้ควรพิจารณาจากลักษณะการกระจายข้อมูล และเลือกวิธีที่เหมาะสมกับข้อมูล

                   ชุดนั้นๆ จากการจัดท าค่ามาตรฐานของสมบัติดินส าหรับปลูกมะม่วงหิมพานต์ พบว่า การก าหนดปริมาณ
                   อนุภาคดินเหนียวที่เหมาะสม ใช้วิธีเส้นขอบเขตร่วมกับสมการพหุนามก าลังสอง ในขณะที่การก าหนดระดับพี

                   เอชที่เหมาะสม ใช้วิธีเส้นขอบเขตที่มีเส้นแนวโน้มสองเส้นตัดกันในลักษณะของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งทั้งหมดเลือก
                   วิธีประมวลผลจากรูปแบบการกระจายของข้อมูล (Widiatmaka et al., 2014)

                          การรวบรวมเอกสารในครั้งนี้ยังพบว่าพืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารแตกต่างกัน จากการ

                   จัดท าค่ามาตรฐานส าหรับการวิเคราะห์ดินและพืชในส้มโอ พบว่า ค่าแนะน าการวิเคราะห์ดินส าหรับส้มโอ
                   ใกล้เคียงกับค่าแนะน าส าหรับพืชทั่วไป ในขณะที่ค่าแนะน าส าหรับการวิเคราะห์ใบมีความจ าเพาะต่อส้มโอ

                   มากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพืชตระกูลส้มชนิดอื่น พบว่า ส้มโอต้องการฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูงกว่า
                   แต่ต้องการ แคลเซียม และแมกนีเซียมใกล้เคียงกัน (สมศักดิ์, 2551) ส่วนในยางพาราระยะก่อนเปิดกรีด

                   พบว่าดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของยางพาราควรมีปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์

                   และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ อยู่ในช่วง 10-26 กรัมต่อกิโลกรัม, 10-20 และ 40-80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   ตามล าดับ ส่วนในใบควรมีความเข้มข้นของปริมาณ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อยู่ในช่วง

                   30-38, 2.5-3.0 และ 10-14 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ (ภรภัทร และสมศักดิ์, 2559) การศึกษาค่ามาตรฐาน

                   ในใบมะม่วง พบว่า ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 12.2-17.2, 2.3-6.4
                   และ 6.2-11.4 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ชี้ให้เห็นว่ากรณีของมะม่วงมีค่าไนโตรเจนแนะน าต่ ากว่าใน

                   ยางพาราอย่างเด่นชัด (อัศจรรย์, 2545) ส่วนในใบส้มมีรายงานปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ

                   โพแทสเซียมที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 24-26, 1.2-1.6 และ 8-11 กรัมต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ซึ่งมีค่าไนโตรเจน
                   และฟอสฟอรัสแนะน าต่ ากว่าค าแนะน าในมะม่วงอย่างชัดเจน (นันทรัตน์, 2544 อ้างโดย จ าเป็น และคณะ, 2549)

                   จากกรณีศึกษาในข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพืชแต่ละชนิดมีความต้องการปริมาณธาตุอาหารแตกต่างกัน จึง
                   จ าเป็นต้องจัดท าค่ามาตรฐานธาตุอาหารของพืชแต่ละชนิดแบบเฉพาะเจาะจง เช่นเดียวกับกรณีของขมิ้นชัน

                   ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ยังไม่มีรายงานค่ามาตรฐานของระดับธาตุ
                   อาหารส าหรับให้ค าแนะน าปุ๋ยแก่เกษตรกร
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29