Page 20 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          10

                          3.2 การใช้วิธีเส้นขอบเขต (boundary line method)

                                 การใช้วิธีเส้นขอบเขตสามารถท าได้โดยน าข้อมูลที่ได้จากการส ารวจมาพิจารณาการกระจาย
                   ของข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นธาตุอาหาร กับการตอบสนองของพืช จากนั้นอาศัยหลักการที่ว่า

                   ในช่วงแรกความต้องการธาตุอาหารพืชจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่พืชมีการเจริญเติบโต หรือให้ผลผลิตสูงสุด แต่

                   หลังจากนั้นผลผลิต หรือการเจริญเติบโตจะลดลง เมื่อความเข้มข้นธาตุอาหารยังคงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปกติ
                   เมื่อใช้ความเข้มข้นธาตุอาหารพืชที่ได้จากการส ารวจในแต่ละพื้นที่ มาหาความสัมพันธ์กับการตอบสองของพืช

                   พบว่า ส่วนใหญ่ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยส าคัญทางสถิติเนื่องจากมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากธาตุอาหารที่เป็น

                   ตัวจ ากัดการเจริญเติบโต หรือผลผลิตพืช เช่น โรค แมลง ปริมาณความชื้นในดิน หรือสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็น
                   ปัจจัยที่ก าหนดการตอบสนองของพืชได้เช่นเดียวกัน ปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความสัมพันธ์ในทางสถิติที่ใช้กัน

                   อยู่ทั่วไป (สุมิตรา และคณะ, 2544) ดังนั้นจึงมีการน าวิธีเส้นขอบเขตมาใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล
                   โดยการ ลากเส้นขอบเขตรอบนอกของการกระจายข้อมูลสองเส้นตัดกันในลักษณะของรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมี

                   สมมติฐานว่ากลุ่มข้อมูลบริเวณเส้นขอบเขตนอกเป็นอิทธิพลที่เกิดจากธาตุอาหารภายใต้สภาวะแวดล้อมอื่นที่

                   เหมาะสม การใช้เทคนิคดังกล่าวจะท าให้ได้เส้นแนวโน้ม สองเส้น เส้นแนวโน้มเส้นแรกจะบ่งชี้ระดับความ
                   เข้มข้นธาตุอาหารต่อการตอบสนองของพืชจากน้อยไปมาก จนส่งผลให้พืชมีการเจริญเติบโตหรือให้ผลผลิต

                   สูงสุด ส่วนเส้นแนวโน้มเส้นที่สองเมื่อพิจารณาจากจุดสูงสุดจะบ่งชี้ความเข้มข้นธาตุอาหารที่เริ่มท าให้พืชมีการ
                   ตอบสนองลดลง หลังจากมีความเข้มข้นธาตุอาหารสูงเกินไป จากการหาความสัมพันธ์ของความเข้มข้น

                   แคลเซียมในต้นกระบองเพชรกับการเจริญเติบโต พบว่า เมื่อหาความสัมพันธ์ทางสถิติทั่วไป จะไม่พบ

                   ความสัมพันธ์ที่มีนัยส าคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาการกระจายของข้อมูล โดยการลากเส้นขอบเขตนอกสอง
                   เส้นตัดกัน ชี้ให้เห็นว่าข้อมูลมีการกระจายตัวในลักษณะรูปสามเหลี่ยม ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงมอง

                   ความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นสามเหลี่ยม (ภาพที่ 4) และจากการใช้วิธีเส้นขอบเขตท าให้ได้ความเข้มข้น

                   แคลเซียมที่ท าให้ต้นกระบองเพชรมีการเจริญเติบโตสูงสุด คือ 2.83 เปอร์เซ็นต์ (Blanco-Macias et al.,
                   2009)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25