Page 22 - การจัดทำค่ามาตรฐานของมหธาตุสำหรับแปลผลวิเคราะห์ดินและพืชในขมิ้นชัน Standard Values of Macronutrient Elements for Soil and Plant Analysis in Turmeric (Curcuma longa L.)
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          12

                          3.3 การใช้สมการพหุนามก าลังสอง (quadratic equations method)

                                 การใช้สมการพหุนามก าลังสอง (y = ax  + bx +c) จัดท าค่ามาตรฐานธาตุอาหารพืช เป็น
                                                                   2
                   วิธีที่คล้ายกับการใช้วิธีเส้นขอบเขต เพียงแต่วิธีเส้นขอบเขตใช้เส้นแนวโน้มสองเส้นในการวิเคราะห์

                   ความสัมพันธ์ของข้อมูล ในขณะที่การใช้สมการพหุนามก าลังสองใช้เส้นแนวโน้มเพียงเส้นเดียว จึงช่วยลด

                   ความยุ่งยากในการประมวลผล การใช้วิธีนี้จะได้เส้นแนวโน้ม ที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งรูประฆังคว่ า โดยอาศัย
                   หลักการตอบสนองของพืชต่อความเข้มข้นของธาตุอาหารเช่นเดียวกับการใช้วิธีเส้นขอบเขต คือ ในช่วงแรก

                   ความต้องการธาตุอาหารพืชจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่พืชมีการเจริญเติบโต หรือให้ผลผลิตสูงสุด แต่หลังจากนั้น

                   ผลผลิต หรือการเจริญเติบโตจะลดลง หากความเข้มข้นธาตุอาหารยังคงเพิ่มขึ้นอีก จากการใช้สมการพหุนาม
                   ก าลังสองก าหนดความเข้มข้นของก ามะถันที่เหมาะสมในใบยางพาราระยะก่อนเปิดกรีด พบว่า ความสัมพันธ์

                   ระหว่างการเจริญเติบโตของต้นยางพารากับระดับก ามะถันในใบเป็นไปในลักษณะเส้นโค้งรูประฆังคว่ า
                   (ภาพที่ 5)


























                   ภาพที่ 5 การใช้สมการพหุนามก าลังสองก าหนดระดับก ามะถันที่เหมาะสมในใบยางพาราระยะก่อนเปิดกรีด

                   ที่มา: ภรภัทร และ สมศักดิ์ (2559)


                          จากภาพแสดงให้เห็นว่าต้นยางพารามีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นตามระดับความเข้มข้นของก ามะถัน

                   และมีการเจริญเติบโตสูงสุด เมื่อมีความเข้มข้นของก ามะถันในใบประมาณ 0.25 เปอร์เซ็นต์ แต่หากระดับ
                   ความเข้มข้นก ามะถันสูงกว่าค่าดังกล่าว จะส่งผลให้การเจริญเติบโตลดลง (ภรภัทร และ สมศักดิ์, 2559)

                   นอกจากนี้การใช้สมการพหุนามก าลังสองสามารถก าหนดค่ามาตรฐานธาตุอาหารได้อย่างละเอียดเช่นเดียวกับ

                   วิธีเส้นขอบเขต จากการจัดท าค่ามาตรฐานธาตุอาหารหลักในดินส าหรับข้าวโดยใช้สมการพหุนามก าลังสอง
                   เป็นแบบจ าลองทางคณิตศาสตร์ พบว่า สามารถก าหนดระดับธาตุอาหาร ในช่วงขาดแคลน ต่ า เพียงพอ และ

                   สูงเกินไป (ตารางที่ 3) โดยอาศัยข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของธาตุอาหารในดิน กับปริมาณ

                   ผลผลิต ในช่วง <60, 60-80, 80-100 เปอร์เซ็นต์ และค่าความเข้มข้นของธาตุอาหารที่เริ่มท าให้ผลผลิตลดลง
                   ตามล าดับ (สุทธิ์เดชา และคณะ, 2562)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27