Page 55 - ผลของอัตราปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ต่อการเจริญเติบโตผลผลิต ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และปริมาณสารเคอร์คูมินอยด์ในขมิ้นชัน Effect of Nitrogen, Phosphorus and Potassium Fertilizers on Plant Growth, Products, Economic Return and Curcuminoids in Turmeric (Curcuma Longa L.)
P. 55

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                    6.3 ข้อมูลเบื้องต้นของต้นทุนการผลิตและรายได้จากการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียม

                          จากการประเมินต้นทุนอื่น ๆ ในการปลูกขมิ้นชัน ซึ่งยังไม่รวมต้นทุนจากการใช้ปุ๋ย ได้แก่ ค่าวัสดุเกษตร

                   ค่าแรงงานในการเตรียมดิน ปลูก การดูแลรักษา ก่าจัดวัชพืช และการเก็บเกี่ยวผลผลิต ตลอดจนค่าเสียโอกาสเงิน

                   ลงทุน ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์ โดยดัดแปลงวิธีการประเมินต้นทุนจากการผลิตหอมแดงของส่านักงานเศรษฐกิจ
                   การเกษตร พบว่า การปลูกขมิ้นชันมีต้นทุนอื่น ๆ ที่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ย เท่ากับ 13,342 บาทต่อ

                   ไร่ และเมื่อมีการใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตราที่ต่างกันส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นตามอัตราปุ๋ยที่ใส่ (ตารางที่ 4)

                   การใช้วิธีเกษตรกร มีต้นทุนการผลิตต่่าสุด 14,342 บาทต่อไร่ อย่างไรก็ตาม การใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม ส่งผล

                   ให้อัตราการเพิ่มผลผลิตสูงกว่าอัตราการเพิ่มของต้นทุน เห็นได้จาก การใส่ปุ๋ยอัตรา 25 และ 50 กิโลกรัม K O ต่อ
                                                                                                          2
                   ไร่ ได้รับผลผลิต 1,648 และ 1,251 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุน 15,398 และ 16,148 บาทต่อไร่ ตามล่าดับ ในขณะที่

                   การใช้วิธีเกษตรกร ได้ผลผลิต 644 กิโลกรัมต่อไร่ และมีต้นทุนอยู่ 14,342 บาทต่อไร่ ต่่ากว่าต่ารับการทดลองใน

                   ข้างต้น แต่เมื่อประเมินรายได้จากการขายผลผลิตสดของเหง้าขมิ้นชัน ที่ราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 30 บาท พบว่า
                   วิธีเกษตรกรมีรายได้จากการขาย 19,308 บาท เมื่อหักต้นทุนการผลิต เหลือก่าไร 4,966 บาทต่อไร่ ต่่ากว่า การ

                   ใช้ปุ๋ยอัตรา 25 และ 50 กิโลกรัม K O ต่อไร่ อย่างเด่นชัด ซึ่งมีรายได้จากการขายผลผลิต 49,440 และ 37,524
                                                2
                   บาทต่อไร่ และได้รับก่าไร 34,042 และ 21,376 บาทต่อไร่ ตามล่าดับ ทั้งนี้ เมื่อประเมินจากอัตราส่วน

                   ผลตอบแทนต่อต้นทุน พบว่า การใส่ปุ๋ยอัตรา 25 กิโลกรัม K O ต่อไร่ มีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนสูงสุด
                                                                      2
                   เท่ากับ 3.21 แปลความหมายได้ว่า การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมตามต่ารับการทดลองดังกล่าว จะท่าให้ได้รับรายได้จาก
                   การขายผลผลิตจ่านวน 3.21 เท่า ของจ่านวนเงินที่ลงทุนไป หรือเงินที่ลงทุนไป 1 บาท สามารถสร้างก่าไรได้

                   2.21 บาท อย่างไรก็ตาม เมื่อเพิ่มอัตราปุ๋ยเป็น 50, 75, 100 และ 125 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ส่งผลให้อัตราส่วน
                                                                                        2
                   ผลตอบแทนต่อต้นทุนลดลงเหลือ 2.32, 1.84, 1.48 และ 0.76 ตามล่าดับ ทั้งนี้ เนื่องจากโพแทสเซียมที่เพิ่มขึ้น

                   เป็นปฏิปักษ์ต่อการดูดใช้ธาตุอาหารชนิดอื่น โดยเฉพาะแคลเซียมและแมกนีเซียม จากอ่านาจการเกิดอันตรกิริยา

                   ต่อกันของธาตุอาหาร ส่งผลให้ผลผลิตลดลง แต่มีต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น ผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจจึงลดลง
                   ดังนั้น อัตราปุ๋ยโพแทสเซียมที่เหมาะสมส่าหรับการปลูกขมิ้นชันในดินที่ขาดแคลนธาตุดังกล่าว คือ 25 กิโลกรัม

                   K O ต่อไร่ ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจคุ้มค่าสุด อย่างไรก็ตาม จากผลการทดลอง
                    2
                   ชี้ให้เห็นว่า อัตราปุ๋ยโพแทสเซียมสูงสุดที่ขมิ้นชันตอบสนองในดินที่ขาดแคลน คือ 25 กิโลกรัม K O ต่อไร่ ดังนั้น
                                                                                                   2
                   ในบริเวณดินทั่วไปที่มีปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดได้อยู่ในช่วงปานกลางถึงสูง สามารถลดอัตราปุ๋ยได้อีก ซึ่งจะช่วย

                   ให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60