Page 10 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                        8


                       อ้อยปลูก 10,351 ลำต่อไร่ อ้อยตอ1 11,287 ลำต่อไร่ ผลผลิตน้ำตาลในอ้อยปลูก 2.64 ตันซีซีเอสต่อ

                       ไร่ อ้อยตอ1 2.49 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซีซีเอสในอ้อยปลูก 14.6 อ้อยตอ1 15.1
                                     1.2.3 ลักษณะเด่น

                                            ให้ผลผลิตสูง อ้อยปลูกมีน้ำหนักเฉลี่ย 18.1 ตันต่อไร่ และอ้อยตอ1 16.5
                       ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 25 และ 28 ตามลำดับ ไม่ออกดอก ทำให้น้ำหนักและความ

                       หวานไม่ลดลง กาบใบหลวมเก็บเกี่ยวง่าย


                       2.ดินด่างหรือดินเนื้อปูน

                              ดินด่างหรือดินเนื้อปูน คือ ดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่เป็นด่าง มีแคลเซียมหรือแมกนีเซียม
                       คาร์บอเนตสูง เป็นตะกอนที่น้ำพัดพามาทับถม เช่น หินปูนมาร์ล  ดินประเภทนี้จะมีประจุบวกที่เป็น

                       ด่างแลกเปลี่ยนได้สูง ปัญหาในการปลูกพืชในดินที่มีสภาพเป็นด่างจัดนั้น จะมีผลทำให้พืชแสดง

                       อาการขาดธาตุอาหารบางอย่างในสภาวะความเป็นด่างของดินจะทำให้พืชขาดธาตุเหล็ก และสังกะสี
                       ถ้าหากใส่ไนโตรเจนในรูปของยูเรียจะทำให้เปลี่ยนรูปสูญเสียระเหยไปเป็นก๊าช ในธาตุฟอสฟอรัสจะมี

                       ความเป็นประโยชน์ลดลง เนื่องจากถูกตรึงทำปฏิกิริยากับแคลเซียมเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำได้
                       ยาก นอกจากนี้สภาวะที่ดินมี pH สูง แคลเซียมจะไปแทนที่โพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดิน และ

                       ถูกชะละลายออกไป จึงอาจทำให้พืชมีปัญหาในการเจริญเติบโตเนื่องจากขาดธาตุอาหารดังกล่าว ซึ่ง

                       ในจังหวัดนครสวรรค์ ดินด่างหรือดินเนื้อปูนที่ใช้ทำการเกษตรส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มชุดดินที่ 52 ชุด
                       ดินตาคลีหรือกลุ่มชุดดินที่ 28 ขุดดินชัยบาดาล ซึ่งเกษตรกรจะปลูกอ้อย จากการประเมินกำลังผลิต

                       ของดินสำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจจังหวัดนครสวรรค์ ได้ให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยอ้อยว่าควร ใช้ปุ๋ยสูตร
                       16-16-16 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ 1-2 ตันต่อไร่แบ่งใส่ ครึ่งหนึ่งหลังปลูก 1 เดือน

                       อีกครึ่งหนึ่งใส่หลังปลูก 3 เดือน ถ้ามีการให้น้ำ เพิ่มสูตร 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่ ในครั้งที่ 2

                       (สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2552)
                             เฉลียว (2533) กล่าวว่าการใช้ประโยชน์ข้อมูลดินในการวางแผนการผลิตของประเทศ

                       โดยเฉพาะการ ผลิตทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับพืชเศรษฐกิจ สามารถใช้ข้อมูลทางการสำรวจดิน
                       และการจำแนกดินเป็นฐานในการพิจารณาปริมาณการผลิตพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิดได้ จากการ

                       วินิจฉัยความเหมาะสม และศักยภาพในการ ผลิตของดินจากแผนที่ดินว่าส่วนใดของประเทศจะ

                       เหมาะสมในการปลูกพืชเศรษฐกิจนั้นๆ และมีปริมาณเนื้อที่ มากน้อยเท่าใด เมื่อทราบความเหมาะสม
                       ของดินและปริมาณเนื้อที่แล้วก็สามารถประมาณผลผลิตได้ตามความ ต้องการของตลาดภายในและ

                       นอกประเทศ นอกจากนี้การศึกษาวิจัยที่มีการใช้ข้อมูลดินเป็นฐานในการวางแผน การศึกษาจะช่วย
                       ทำให้การถ่ายทอดความรู้หรือผลงานวิจัยไปสู่พื้นที่อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่าย และ

                       เวลาในการทำการศึกษาวิจัยในปัญหาเดียวกันโดยไม่ทำการวิจัยซ้ำซ้อนอีก
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15