Page 13 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 13

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       11


                                     3.1.1. ดินสีน้ำตาลชุดกำแพงแสน  เป็นดินที่ใช้ปลูกอ้อยมากที่สุดของประเทศ มี

                       ความอุดมสมบูรณ์สูงได้แก่ดินในจังหวัด นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์
                       กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ และลำปาง

                                     3.1.2  ดินสีเทาชุดบ้านบึงและโคราช  เป็นกลุ่มดินที่มีความอุดมสมบูรณ์รองลงมา
                       ได้แก่ดินในจังหวัดชลบุรี ขอนแก่น อุดรธานี และเพชรบุรี

                                     3.1.3 ดินสีจางชุดวาริน เป็นดินที่ใช้ปลูกอ้อยไม่มากนัก ได้แก่ ดินในภาค

                       ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งอ้อยที่ปลูก มักให้ผลผลิตต่ำ
                                     3.1.4 ดินแดงชุดยโสธร คล้ายกับดินชุดวาริน มีการปลูกอ้อยไม่มากนัก เนื่องจาก

                       อ้อยที่ปลูกในดินชุดนี้จะให้ผลผลิตต่ำ
                                     3.1.5 ดินร่วนปนทรายชุดจตุรัส มีความอุดมสมบูรณ์สูง ให้ผลผลิตดี ได้แก่ดินใน

                       จังหวัดชัยภูมิ

                                     3.1.6 ดินชุดตาคลี เป็นดินเหนียวสีดำ เป็นด่าง อ้อยเจริญเติบโตได้แต่จะมีรากสั้น
                       เนื่องจากขาดธาตุเหล็ก แมงกานีส และสังกะสี ถ้าฝนแล้งจะทำให้ผลผลิตลดต่ำ ได้แก่ ดินในจังหวัด

                       นครสวรรค์ และบางแห่งในจังหวัดกาญจนบุรี
                              3.2 หลักการพิจารณาคุณสมบัติของดิน

                              วิธีจะพิจารณาว่าดินดีหรือไม่ จะต้องพิจารณาร่วมกัน 2 ลักษณะคือ

                                     3.2.1 ลักษณะรูปร่างและโครงสร้าง
                                     ลักษณะนี้นักวิชาการเรียกว่าลักษณะทางกายภาพ ซึ่งเกษตรกรพอจะสังเกตได้ด้วย

                       ตาเปล่าหรือการสัมผัสเช่น ดินมีลักษณะแน่นทึบหรือไม่ ดินเป็นทรายจัดหรือเป็นดินโปร่งร่วนซุยมี
                       ช่องว่างให้อากาศและน้ำอยู่หรือไม่ หรือเป็นดินดานที่รากอ้อยแทงไม่ทะลุ หน้าดินเวลาแห้งแล้วแข็ง

                       เป็นแผ่นหรือร่วนซุย เวลาให้น้ำหรือฝนตกน้ำซึมลงไปเร็วหรือช้าเหล่านี้เป็นต้น ดินที่มีโครงสร้างดี

                       ควรจะเป็นดินร่วนมีเนื้อดิน 45 เปอร์เซ็นต์ มีความชื้น 25 เปอร์เซ็นต์ มีช่องว่างให้อากาศอยู่ 25
                       เปอร์เซ็นต์ และที่เหลืออีก 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นอินทรีย์วัตถุ

                                     3.2.2 ลักษณะทางเคมีและธาตุอาหาร
                       ลักษณะนี้เป็นการยากสำหรับเกษตรกรที่จะบอกได้ด้วยตาเปล่าหรือการสัมผัส นอกจากมองดูอาการ

                       ของต้นอ้อย ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญมาก วิธีที่ดีที่สุดคือ การส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ลักษณะ

                       ทางเคมีนี้ได้แก่ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ความเค็ม ปริมาณธาตุอาหารต่าง ๆ ในดิน



                              3.3 การจัดการดินทางด้านกายภาพ
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18