Page 9 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                        7


                              ขั้นแรก เป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงแดดซึ่งเป็นพลังงานทีไม่สามารถเก็บได้โดยตรงให้มาอยู่

                       ในรูปสารเคมีที่ให้พลังงานสูง คือ NAKPH (nicotinamide adenine dinucleotide phosphate)
                       และ ATP (adenosine-5-triphosphate) ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นในขณะที่มีแสงเท่านั้น จึงเรียกว่า

                       ปฏิกิริยาต้อง การแสงหรือ “light reaction”
                              ขั้นที่สอง เป็นการนำพลังงานที่ได้จากขั้นแรกมาใช้ในการตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)

                       จะถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบหลายอย่างด้วยการช่วยเหลือของเอนไซม์ (enzyme) หลายชนิดซึ่งทำ

                       หน้าที่โดยเฉพาะเจาะจงจนกระทั่งได้เป็นน้ำตาล ปฏิกิริยานี้ไม่ต้องใช้แสง จึงเรียกว่า ปฏิกิริยาไม่
                       ต้องการแสง หรือ “dark reaction” (กรมส่งเสริมเกษตร, 2551)

                              1.2 อ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3
                                     เป็นผลงานการปรับปรุงพันธุ์อ้อยของนักวิจัยของศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น

                       วัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อสร้างอ้อยพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ไม่น้อย

                       กว่าร้อยละ 5 มีค่าความหวานมากกว่า 12 ซีซีเอส และเหมาะที่จะใช้ปลูกในสภาพแวดล้อมของภาค
                       ตะวันออกเฉียงเหนือ และสภาพพื้นที่ดอนในพื้นที่ต่างๆ

                                     1.2.1 ประวัติการปรับปรุงพันธุ์
                                            ได้จากคู่ผสมระหว่างอ้อยโคลน 85-2-352 กับพันธุ์ K84-200 โดยการผสม

                       ข้ามพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ในปี พ.ศ.2537 ทำการเพาะเมล็ดและคัดเลือกครั้งที่ 1 (ลูกอ้อย)

                       ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีในปี พ.ศ.2538-2539 คัดเลือกครั้งที่ 2 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นในปี
                       พ.ศ.2540 คัดเลือกครั้งที่ 3 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นในปี พ.ศ.2541-2542 เปรียบเทียบพันธุ์

                       เบื้องต้นที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นในปี พ.ศ.2544-2545 เปรียบเทียบมาตรฐานที่ศูนย์วิจัยพืชไร่
                       ขอนแก่น และศูนย์วิจัยพืชไร่กาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ.2545-2547 เปรียบเทียบและทดสอบในไร่เกษตรกร

                       ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ และ

                       นครราชสีมา ในปี พ.ศ.2547-2548 พบว่า มีผลผลิตสูงและสามารถปรับตัวได้ดีกับเขตใช้น้ำฝนของ
                       ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี

                       พ.ศ.2537-2551 รวมระยะเวลาการวิจัย 15 ปี
                                     1.2.2 ลักษณะทั่วไปของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น3

                                            กอตั้งตรง กาบใบหลวม มี 6-12 หน่อต่อกอ ความยาวปล้องน้อยกว่า 10

                       เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำ 2.72 เซนติเมตร มีไขปานกลางสีเหลืองเหลือบเขียวเมื่อไม่ต้องแสง
                       และสีม่วงเหลือบเหลืองถึงน้ำตาล เมื่อต้องแสง ตารูปไข่ ใบมีลักษณะปลายโค้ง มีกลุ่มขนที่ขอบใบ

                       ส่วนโคน ลิ้นใบเป็นแถบ ตรงกลางพองออก ปลายเรียวทั้ง 2 ข้าง หูใบด้านนอกรูปสามเหลี่ยม หูใบ
                       ด้านในรูปใบหอกสั้น คอใบรูปสามเหลี่ยม ชายธงปลายคด ขนที่กาบใบน้อย จำนวนลำเก็บเกี่ยวใน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14