Page 15 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       13


                       เราขนอ้อยส่งโรงงานทุกปี ธาตุอาหารในดิน ก็ลดลงไปทุกปี ๆ จนไม่พอแก่ความต้องการของอ้อย จึง

                       ต้องใส่ธาตุอาหาร ลงไปในดินในรูปปุ๋ยเคมี
                                     3.6.1 ไนโตรเจน

                                     เป็นธาตุที่ช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตทางด้านลำต้นและใบ ทำให้อ้อยแตกกอดี มี
                       จำนวนลำมากทำให้น้ำหนักอ้อยมาก ถ้าอ้อยขาดไนโตรเจน จะทำให้ใบเหลือง แคระแกร็น แตกหน่อ

                       ช้า หน่อไม่เจริญ อ้อยจะแก่เร็วกว่าปกติและคุณภาพอ้อยจะต่ำ ในช่วงแรก ที่ปลูกอ้อยจะเจริญเติบโต

                       ช้า จึงต้องการไนโตรเจนน้อย และในท่อนพันธุ์ มีไนโตรเจนติดมาบ้าง พออ้อยมีรากจึงเริ่มดูดอาหาร
                       เพื่อใช้สร้างหน่ออ้อย ช่วงนี้อ้อยจะดูดไนโตรเจนจากดิน ดินที่มีไนโตรเจนน้อย จึงควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน

                       ให้แก่ดิน ในทางปฏิบัติเพื่อความสะดวก แนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน รองก้นหลุม เวลาปลูกเลยส่วน
                       หนึ่ง หลังจากนั้นพออ้อยอายุ 2-3 เดือน อ้อยจะแตกกอ และเจริญเติบโตทางด้านลำต้นเร็วมาก

                       ระยะนี้อ้อยจะดูดไนโตรเจน อย่างรวดเร็ว จึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกครั้ง เรียกว่าปุ๋ยแต่งหน้า

                                     3.1.2 ฟอสฟอรัส
                                     ฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของรากอ้อย และการแตกกอ อ้อย

                       ที่ขาดฟอสฟอรัส จะเป็นโรคได้ง่าย อ้อยแคระแกร็น โตช้า ปล้องสั้น การแตกหน่อลดลง ใบจะมีสีม่วง
                       ขอบใบแห้ง ดินที่ใช้ปลูกอ้อยส่วนใหญ่ จะมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์แก่พืชน้อย ยกเว้นดิน

                       กำแพงแสน จึงต้องใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส โดยแนะนำให้ใส่พร้อมปลูกโดยใส่รองก้นหลุม

                                     3.1.3 โปแตสเซี่ยม
                                     ธาตุนี้จำเป็นต่อขบวนการเจริญเติบโตของอ้อย โดยเฉพาะขบวนการสร้างแป้ง และ

                       น้ำตาล แล้วเคลื่อนย้ายไปเก็บไว้ในลำต้น อ้อยที่ขาดธาตุโปแตสเซี่ยม จะล้มง่าย ความหวานลดลง ไม่
                       ต้านทานโรค อ้อยจะแสดงอาการที่ใบแก่ โดยปลายใบ และขอบใบจะไหม้ ส่วนบนของเส้นกลางใบ

                       จะมีสีแดง ดินส่วนใหญ่จะมีโปแตสเซี่ยม อยู่มาก ยกเว้นดินทราย ทางภาคตะวันออก และภาค

                       ตะวันออกเฉียงเหนือ

                             กรมวิชาการเกษตร (2548) รายงานว่าการวิเคราะห์ดินเป็นหัวใจสำคัญของการใช้ปุ๋ยเพื่อ
                       เพิ่มผลผลิตพืช ค่าวิเคราะห์ดินบอกให้ทราบว่าดินมีธาตุอาหารพืชต่างๆ ในรูปที่เป็นประโยชน์และมี

                       ปริมาณเพียงพอกับความ ต้องการของพืชมากหรือน้อยเพียงใด เป็นเครื่องมือของการใช้ปุ๋ยอย่างมี

                       ประสิทธิภาพ เหมาะสมกับความ ต้องการของพืช รวมทั้งให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจใน
                       การผลิตพืช ในการจำแนกค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับให้คำแนะนำในการใส่ปุ๋ยเพื่อให้ธาตุอาหารหลักคือ

                       ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม กลุ่มวิจัย ปฐพีวิทยา สำนักพัฒนาปัจจัยการผลิตทาง

                       การเกษตร กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำค่ามาตรฐานที่เหมาะสมของ ปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส
                       และโพแทสเซียม ในดินที่สัมพันธ์กับอัตราปุ๋ยแนะนำให้ใส่ในแต่ละพืช โดยมี ข้อมูลอ้างอิงมาจากงาน

                       ทดลองปุ๋ยกับพืชแต่ละชนิดของนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละพืช กล่าวคือ ถ้าค่า
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20