Page 7 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                        5


                       ยอด ลักษณะดังกล่าวปรากฏในอ้อยที่ไม่มีดอก ส่วนอ้อยที่มีดอกปล้องที่รองรับช่อดอก จะมีความ

                       ยาวที่สุดแล้วลดลงตามลำดับจนกระทั่งถึงส่วนที่ปล้องมีความยาวไล่เลี่ยกัน สีของลำต้น แตกต่างกัน
                       ตามพันธุ์และสภาพแวดล้อม มีตั้งแต่สีม่วงแดง เขียวอ่อน และเหลือง เป็นต้น ลำต้น เป็นส่วนสำคัญ

                       ที่ใช้ในการขยายพันธุ์และสะสมน้ำตาล อ้อยแต่ละพันธุ์มีปล้องแตกต่างกัน บางปล้องตรง ป่อง หรือ
                       คอด และการต่อของปล้องมีหลายแบบ บางพันธุ์ซิกแซก บางพันธุ์เป็นลำตรงตลอด ลักษณะ เช่นนี้

                       เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบพันธุ์อ้อยได้ที่ข้อจะมีวงโดยรอบ มีทั้งเรียงเป็นระเบียบหรือเรียงสลับ

                       เรียกว่า วงราก ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของรากเมื่อนำไปปลูก ในหนึ่งปล้องมี 1 ตา หรือบางปล้องก็ไม่มีตา
                       ตามีลักษณะแตกต่างกันหลายแบบ เช่น สามเหลี่ยม ยอดแหลม รูปไข่ ห้าเหลี่ยม ขนมเปียกปูนกลม

                       หรือสี่เหลี่ยม ลักษณะตานี้จะแตกต่างกันอีก เช่น อาจจะบวม แฟบ หรือแบนเรียบแตกต่างกันตาม
                       พันธุ์ ปล้องอ้อยแต่ละปล้องจะมีกาบใบ หุ้มตรงรอยต่อ ภายในกับปล้อง เมื่อใบแห้งและร่วงจะ

                       สังเกตเห็นรอยกาบใบเป็นเยื่อแห้งๆรอบปล้องสามารถ ใช้บอกลักษณะพันธุ์อ้อยได้

                                     1.1.4 กาบใบและใบ ใบอ้อยมีลักษณะคล้ายใบข้าว แต่มีขนาดใหญ่และยาว
                       มากกว่า ใบประกอบด้วย 2 ส่วน คือ กาบใบและแผ่นใบ กาบใบ คือ ส่วนที่ติดและโอบรอบลำต้น

                       ทางด้าน ที่มีตา การโอบรอบลำต้นของกาบใบจะสลับข้างกัน เช่น ใบหนึ่งขวาทับซ้ายใบถัดขึ้นไปซ้าย
                       จะทับขวา ฐานกาบใบกว้างที่สุดแล้วเรียวลงสู่ปลายแผ่นใบ ได้แก่ ส่วนที่อยู่ต่อจากกาบใบขึ้นไปทั้ง

                       สองส่วนแยกจากกันตรงรอยต่อ ด้านในของรอยต่อนี้จะมีส่วนยื่นเป็นเยื่อบาง ๆ รูปร่างคล้ายกระจับ

                       เรียกว่า ลิ้นใบ ที่ส่วนปลายของกาบใบจะมีความกว้างมากกว่าฐานของแผ่นใบจึงทำให้มีส่วนเกิน ซึ่ง
                       มักจะยื่นขึ้นไปข้างบน เรียกว่า หูใบ ซึ่งอาจจะมีทั้งสองข้าง ข้างเดียวหรือไม่มีเลยก็ได้ ในกรณีที่มีข้าง

                       เดียวมักจะอยู่ด้านในเสมอ ลักษณะและรูปร่างของลิ้นใบและหูใบแตกต่างกันตามพันธุ์ กาบใบ
                       ส่วนมากมักมีสีแตกต่างจากตัวใบ เช่น สีเขียวอ่อน หรือเขียวอมม่วง เป็นต้น ที่หลังกาบใบอาจมีขน

                       และมีไขเกาะ ความยาวของใบอ้อยจะมีขนาดต่างๆกัน โดยทั่วไปประมาณ 1 เมตร ความกว้างที่สุด

                       ประมาณ 10 เซนติเมตร ใบอ้อย 1 ใบ จะมีเนื้อที่ประมาณ 0.05 ตารางเมตร อ้อย 1 ลำมี 10 ใบ จะ
                       เป็นเนื้อที่ 0.5 ตารางเมตร ถ้าปลูกปกติ 1 ไร่ มี 12,000 ลำ โดยเฉลี่ยอ้อย 1 ไร่จะมีเนื้อที่ใบรับแสง

                       สว่างได้ 6,000 ตารางเมตร หรือประมาณ 4 เท่าของพื้นที่ดิน 1 ไร่
                                     1.1.5 ดอกและการออกดอก

                                            1) ดอกอ้อยมีลักษณะเป็นพู่ มีรูปแบบเป็นแบบฉบับของแต่ละพันธุ์ไม่

                       เหมือนกัน สีของช่อดอกก็มี สีต่างๆกัน ตั้งแต่ขาวจนกระทั้งน้ำเงินหรือม่วง ในแง่การค้าไม่นิยมปลูก
                       อ้อยที่ออกดอก เนื่องจากอ้อยที่ออกดอกแสดงว่าอ้อยนั้นหยุดการเจริญทางด้านเยื่อแล้ว และน้ำตาล

                       ที่สะสมอยู่ในลำต้นได้ถูกนำไปใช้สร้างช่อดอกบ้าง ความหวานจึงลดลงบ้างเล็กน้อย
                                            2) ในช่อหนึ่งๆ จะมีดอกอ้อยเล็กๆ เป็นจำนวนนับแสนดอก ดอกอ้อยมี

                       ขนาดเล็กมากเกิดเป็นคู่ๆในแต่ละคู่นี้ดอกหนึ่งจะมีก้าน (pedicelled หรือ stalked-spikelet) ส่วน
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12