Page 14 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       12


                              ดินในแปลงปลูกอ้อยที่ผ่านการไถพรวนมาเป็นเวลานาน จะทำให้อนุภาคดิน แยกตัวออก

                       จากกัน อนุภาคบางอย่างจะเรียงตัวกัน เป็นแผ่นแข็ง ๆ ฉาบผิวหน้าดินทำให้ยอดอ้อยแทงทะลุได้ยาก
                       เมื่อเวลาฝนตกน้ำจะไม่ซึมลงไป ดินจะเก็บน้ำไว้ได้น้อย เมื่อฝนแล้งอ้อยจะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว

                              การไถพรวนที่ความลึกระดับเดียวกันนาน ๆ ทำให้ชั้นดิน ถูกขอบจานไถกดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จน
                       กลายเป็นแผ่นทึบ หรือที่เรียกว่า ดินดาน รากอ้อยไม่สามารถแทงทะลุได้ ต้นอ้อยจะชะงัก การ

                       เจริญเติบโต และยังทำให้อินทรีย์วัตถุในดินหมดไป ดินใต้รอยไถจะแน่นทึบ เก็บน้ำและอากาศไว้ใน

                       ดิน ได้น้อย การเจริญเติบโต การดูดน้ำ และธาตุอาหารของต้นอ้อย จะถูกจำกัด
                              3.4 การปรับปรุงดินและแก้ไขดิน ที่มีลักษณะทางกายภาพเลว สามารถทำได้โดย

                                     3.4.1 ใช้ไถสิ่วหรือไถเบิกดินดานติดรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบที่มีกำลังสูง ลากไถสิ่วคู่
                       ระยะ 1 เมตร ไถลึก 75 เซนติเมตร การไถควรทำในขณะที่ดินแห้งจัด เพื่อทำให้ดินดานแตกตัวง่าย

                       ไม่ควรไถเมื่อดินเปียกชื้นเพราะจะทำไม่ได้ผล เนื่องจากดินแตกตัวยากและจะคืนตัวได้ง่าย การไถเบิก

                       ดินดานครั้งหนึ่ง ๆ จะอยู่ได้นานหลายปีถ้ามีการเตรียมดินได้อย่างถูกต้อง
                                     3.4.2 อย่าเตรียมดินโดยการไถพรวนจนดินละเอียดเป็นฝุ่น

                              3.5 การปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีของดิน
                              อ้อย ก็เหมือนกับมนุษย์คือ ต้องการแร่ธาตุอาหาร เพื่อการเจริญเติบโตแข็งแรง มีความ

                       ต้านทานโรค ให้ผลผลิตและขยายพันธุ์ต่อ ๆ ไปได้ แร่ธาตุที่จำเป็น ต่อการเจริญเติบโต ของอ้อยมี 16

                       ธาตุ บางธาตุอ้อยได้มาจากน้ำ และอากาศ เช่นคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน บางธาตุอ้อย
                       ต้องการน้อยมาก และดินเมืองไทยก็มีพอเพียงอยู่แล้ว จึงไม่เป็นปัญหา มีธาตุอาหาร 3 ธาตุ ที่อ้อย

                       ต้องการในปริมาณมาก และดินที่ปลูกอ้อยก็มีให้ไม่พอเพียง ธาตุทั้ง 3 คือไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
                       โปแตสเซี่ยม ซึ่งเราจะต้องใส่เพิ่มให้กับไร่อ้อยในรูปของปุ๋ย

                              ลักษณะทางเคมีอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อการปลูกอ้อย คือความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เรา

                       วัดได้โดยใช้ค่าที่เรียกว่าพีเอช ซึ่งจะมีค่าอยู่ระหว่าง 1-14 โดยทั่วไปดินที่ทำการเกษตร มีค่าพีเอชอยู่
                       ระหว่าง 4-8 แต่ดินที่เหมาะสม สำหรับการปลูกอ้อยควรมีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 6.0-7.5 เพราะธาตุ

                       อาหารในดินจะละลายออกมา ให้อ้อยดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด ดินที่เป็นกรดจัดหรือด่างจัด
                       เกินไป จะทำให้ธาตุอาหารบางชนิดไม่ละลาย ออกมา ให้อ้อยดูดไปใช้ได้ และธาตุอาหารบางชนิด

                       ละลายออกมา มากเกินไปจนเป็นพิษแก่อ้อย ดังนั้นถ้าเราทราบความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เราก็

                       พอจะบอกได้คร่าว ๆ ว่า ดินจะมีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์เพียงใด
                              3.6 การใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อย

                              ธาตุอาหารที่อ้อยต้องการจากดินในปริมาณสูงทั้งสามชนิดคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ
                       โปแตสเซี่ยม มีอยู่ในดินมากเมื่อเปิดป่าใหม่ ๆ แต่เมื่อปลูกอ้อย ไปนาน ๆ อ้อยจะดูดธาตุเหล่านี้ขึ้นมา

                       สร้างลำต้น ใบ ยอดและน้ำตาล เมื่อเราตัดอ้อย เข้าโรงงาน ก็เป็นการขนเอาธาตุอาหารไปจากดิน
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19