Page 12 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                       10


                                     7.1 Fine ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียว 35 -59 เปอร์เซ็นต์ (35 -59 เปอร์เซ็นต์

                       สำหรับดินในอันดับเวอดิโซลส์)
                                     7.2 Very - Fine ประกอบด้วยอนุภาคดินเหนียว 60 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่า

                                     สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน (2548) ได้จัดทำแผนที่กลุ่มชุดดินสำหรับ
                       การปลูกพืช เศรษฐกิจทั้งประเทศ โดยได้พิจารณาการจัดหมวดหมู่ลักษณะและสมบัติดินที่มีศักยภาพ

                       คล้ายคลึงกันในด้านที่มี ผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก จัดหมวดหมู่กลุ่มชุดดินไว้

                       62 กลุ่ม ตามสภาพที่พบแบ่งได้ เป็น 4 กลุ่มใหญ่ดังนี้
                                     1. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ำขัง พบทุกภาค ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 1-25 และ

                       กลุ่มชุดดินที่ 57-59
                                     2. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง พบในภาคกลาง ภาคเหนือและภาค

                       ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 28 29 30 31 33 35 36 37 38 40 41 44 46 47 48 49

                       52 54 55 56 60 และกลุ่มชุดดินที่ 61
                                     3. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น พบในภาคใต้และพื้นที่ชายป่งทะเล

                       ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 26 27 32 34 39 42 43 45 50 51 และกลุ่มชุดดินที่ 53
                                     4. กลุ่มชุดดินที่มีความลาดชันสูง หมายถึงพื้นที่ภูเขาและเทือกเขา ที่มีความลาดชัน

                       มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 62


                       3.การจัดการดินและการใช้ปุ๋ยในไร่อ้อย

                              ดินที่ผ่านการไถพรวนปลูกอ้อยมาเป็นเวลานาน ย่อมเสื่อมสภาพลงไม่ว่าจะเป็นทางด้าน
                       โครงสร้าง หรือความอุดมสมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโต และผลผลิตของอ้อยลดลง

                              การจัดการดินและปุ๋ยที่ถูกวิธีสามารถปรับปรุงคุณสมบัติดังกล่าวของดินให้ดีขึ้น หรือช่วยให้

                       ดินเสื่อมสภาพช้ากว่าที่ควรจะเป็นทำให้ผลผลิตของอ้อยสูงขึ้นหรือรักษาระดับของผลผลิตไม่ให้ลดต่ำ
                       ลง การใส่ปุ๋ยที่ถูกวิธี ถูกชนิดและปริมาณการใช้ ทำให้อ้อย ใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการลงทุน

                       ที่คุ้มค่า มิฉะนั้นจะเหมือนกับเอาเงินไปหว่านทิ้ง เพราะราคาปุ๋ยในปัจจุบันค่อนข้างแพง ปุ๋ยที่ใช้กัน
                       อยู่ก็สูญเสียไปได้ง่าย ไม่ว่าจะถูกชะล้าง ลงลึกจนรากอ้อยดูดไม่ถึง หรือการระเหยขึ้นไปในอากาศ

                       การใส่ปุ๋ยในขณะที่อ้อย ไม่ต้องการธาตุอาหาร หรือต้องการน้อยก็เป็นการลงทุนที่ไม่ก่อประโยชน์

                       ใดๆทั้งสิ้น



                              3.1 ชนิดชองดินที่ใช้ปลูกอ้อย

                              จากการสำรวจดินที่ใช้ปลูกอ้อยกันในประเทศไทย มี 6 ลักษณะคือ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17