Page 5 - ผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง Effects of plant nutrient management in calcareous soilon sugar cane yield and quality.
P. 5

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                                                                        3


                                                       หลักการและเหตุผล


                              อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะเป็นผู้ส่งออก

                       น้ำตาลทรายรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศบราซิล นอกจากนั้นอ้อยยังเป็นพืช
                       อุตสาหกรรมที่มีผู้เกี่ยวข้องมากมายในทุกระดับตั้งแต่ระดับไร่นาถึงโรงงานน้ำตาลและอุตสาหกรรม

                       ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น การผลิตไฟฟ้า ไม้อัด กระดาษ เอทานอล สุราและผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น โดยปี

                       การผลิต 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อย 8,259,969 ไร่  ผลผลิตเฉลี่ย 12.12 ตันต่อไร่ ผลผลิต
                       รวม 100,095,580 ตัน  คิดเป็นมูลค่า 92,522 ล้านบาท แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยในกลุ่มภาคเหนือ

                       ตอนล่าง 1,400,626 ไร่ คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ  ผลผลิตเฉลี่ย 13.46
                       ตันต่อไร่ ผลผลิตรวม 18,855,566 ตัน

                              จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ปลูกอ้อยมากที่สุดในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง คือ 605,602 ไร่

                       ผลผลิตเฉลี่ย 13.68 ตันต่อไร่ ผลผลิตรวม 8,283,369 ตัน จากการสำรวจในพื้นที่พบว่า การปลูก
                       อ้อยส่วนใหญ่จะเป็นดินชุดตาคลี ชุดดินชัยบาดาล ซึ่งเป็นดินเหนียวสีดำ มีความเป็นกรดเป็นด่างสูง

                       โดยชุดดินชัยบาดาลในจังหวัดนครสวรรค์นั้น จะไม่มีความเหมาะสมสำหรับปลูกอ้อย โดยมีข้อจำกัด
                       ด้านความชื้นและธาตุอาหารพืชเมื่อพิจารณาตามแผนที่โซนนิ่ง ซึ่งปกติเกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบ

                       อาศัยน้ำฝน จึงส่งผลให้หลังการตัดอ้อยปลูกแล้วไม่สามารถไว้ตอในรุ่นต่อไปได้ และยังมีผลผลิตต่อไร่

                       ต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่ราคารับซื้อผลผลิตไม่แน่นอน ทำให้ไม่คุ้มทุน
                                   จากปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องหาแนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิตอ้อยในพื้นที่

                       ดังกล่าวให้สูงขึ้น รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิตด้วย และหากการแก้ไขปรับปรุงข้อจำกัดของชุดดินตา
                       คลีตามแผนที่โซนนิ่งแล้ว จะมีข้อมูลที่ใช้ในการต่อยอดงานวิจัยในพื้นที่ตามนโยบายโซนนิ่งของ

                       รัฐบาลได้




                                                          วัตถุประสงค์


                       1. เพื่อศึกษาผลของการจัดการธาตุอาหารพืชในดินต่อผลผลิต และคุณภาพของอ้อยที่ปลูกในดินด่าง

                       2. เพื่อศึกษาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการจัดการธาตุอาหารพืชในดิน ในการปลูกอ้อยในดินด่าง
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10