Page 5 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 5
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
หลักการและเหตุผล
อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะเป็นผู้ส่งออก
น้ำตาลทรายรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศบราซิล นอกจากนั้นอ้อยยังเป็นพืช
อุตสาหกรรมที่มีผู้เกี่ยวข้องมากมายในทุกระดับตั้งแต่ระดับไร่นาถึงโรงงานน้ำตาลและอุตสาหกรรม
ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น การผลิตไฟฟ้า ไม้อัด กระดาษ เอทานอล สุราและผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น โดยปี
การผลิต 2556 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อย 8,259,969ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 12.12 ตันต่อไร่ ผลผลิต
รวม 100,095,580 ตัน คิดเป็นมูลค่า 92,522 ล้านบาท แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยในกลุ่มภาคเหนือ
ตอนล่าง 1,400,626 ไร่ คิดเป็น 17 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งประเทศ ผลผลิตเฉลี่ย 13.46
ตันต่อไร่ ผลผลิตรวม 18,855,566 ตัน
จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่เพาะปลูกมากที่สุดในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง คือ 605,602 ไร่
ผลผลิตเฉลี่ย 13.68 ตันต่อไร่ ผลผลิตรวม 8,283,369 ตัน การทำไร่อ้อยของเกษตรกร ส่วนใหญ่
เกษตรกรจะปลูกในพื้นที่ดินด่าง ซึ่งมีข้อจำกัดในการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช ประสบปัญหาทั้งด้าน
การผลิตและการตลาด โดยเฉพาะสภาวะแห้งแล้งเมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้
ปลูกอ้อยในจังหวัดนครสวรรค์มากเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกอ้อยแบบอาศัยน้ำฝนตาม
ธรรมชาติจึงส่งผลให้หลังจากการตัดอ้อยปลูกแล้วไม่สามารถไว้ตอในรุ่นต่อไปได้ ทั้งนี้เนื่องมาจาก
ความชื้นและธาตุอาหารที่ไม่เพียงพอ อีกทั้งผลผลิตต่อไร่ต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่ราคารับซื้อ
ผลผลิตไม่แน่นอนทำให้ไม่คุ้มทุนจากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องหาแนวทางที่เหมาะสมในการเพิ่ม
ผลผลิตอ้อยให้สูงขึ้น
การให้น้ำแบบน้ำหยด (Drip irrigation) เป็นวิธีการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพในการให้น้ำสูงสุด
โดยสามารถให้น้ำเฉพาะรอบ ๆ รากพืช และสามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชไปพร้อม
กับน้ำได้เลย ปัจจุบันมีใช้กันอยู่ 2 แบบ คือระบบน้ำหยดบนผิวดิน (Surface system) ระบบนี้จะ
วางสายให้น้ำบนผิวดินในแนวกึ่งกลางร่อง หรือข้างร่อง อาจวางทุกร่องหรือร่องเว้นร่องและระบบน้ำ
หยดใต้ผิวดิน (Subsurface system) ระบบนี้จะต้องวางสายให้น้ำก่อนปลูก โดยปกติจะฝังลึก
ประมาณ 25-30 ซม. และสายให้น้ำจะอยู่ใต้ท่อนพันธุ์อ้อยประมาณ10 ซม.การใช้ระบบน้ำหยดเข้า
มาช่วยในการทำไร่อ้อยสามารถทำให้ผลผลิตที่ได้นั้นเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าการใช้น้ำระบบอื่นๆ หรือจาก
ธรรมชาติ เนื่องจากการใช้ระบบน้ำหยดนั้นจะทำให้ดินมีความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้รากที่อยู่ใต้
พื้นดินนั้นสามารถแทงทะลุดินไปหาอาหารได้อย่างง่ายดาย รวมถึงปุ๋ยหรือสารอาหารที่เกษตรกรใช้
เพื่อบำรุงที่มากับน้ำทำให้อ้อยรับสารอาหารได้เร็วและง่าย ทำให้ผลผลิตต่อไร่นั้นเพิ่มได้ถึง 75-100
เปอร์เซ็นต์นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดน้ำได้ถึง 45-50 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการให้น้ำที่สม่ำเสมอ ลด
จำนวนวัชพืชและค่าจ้างแรงงานในการกำจัดวัชพืช ลดการใช้พลังงาน สามารถให้ปุ๋ยและสารเคมีอื่น
ละลายไปกับน้ำพร้อมๆ กัน ทำให้ต้นทุนในการดูแลลดลงอีกด้วย แต่การใช้ระบบน้ำหยดต้องมีการ
ดูแลเอาใจใส่เรื่องของปริมาณในการให้น้ำ เพราะหากให้น้ำมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาของ
ไส้เดือนฝอยระบาดได้ ดังนั้นจึงเป็นแนวคิดในการวิจัยในเรื่องเพิ่มผลผลิตอ้อยในดินด่างด้วย
ระบบน้ำหยด เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการหาแนวทางในการ