Page 27 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 27
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2.3 ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตอ้อยปีที่ 2 (อ้อยตอสอง)
2.3.1 ผลผลิตอ้อย
จากการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ตามวิธีการทดลอง เก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยตอสอง
(ปีที่ 2) และนำมาเปรียบเทียบ พบว่า ผลผลิตอ้อยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ
โดย ตำรับการทดลองที่ 5 การให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินใน
ระบบน้ำหยด ให้ผลผลิตสูงที่สุด 14,270 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา ตำรับการทดลองที่ 4 3 2 และ
ท้ายสุดตำรับการทดลองที่ 1 โดยให้ผลผลิตเท่ากับ 14,225 14,150 13,125 และ 5,720 กิโลกรัม
ต่อไร่ ตามลำดับ แสดงดังตารางที่ 7
2.3.2 ความยาวลำอ้อย
จากการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และทำการวัดความยาวลำอ้อยในวันเก็บเกี่ยว
พบว่า ความยาวลำอ้อยเฉลี่ยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ตำรับการทดลองที่ 2 วิธี
เกษตรกรมีความยาวลำอ้อยเฉลี่ยมากที่สุด เท่ากับ 205 เซนติเมตร รองลงมาตำรับการทดลองที่ 5 4
3 และท้ายสุดตำรับการทดลองที่ 1 โดยมีความยาวลำอ้อยเฉลี่ยเท่ากับ 197 187 179 และ 165
เซนติเมตร ตามลำดับ แสดงดังตารางที่ 7
2.3.3 ความหวานอ้อย
การปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และทำการวัดค่าความหวานด้วยเครื่องวัดค่าความ
หวาน (Hand Refractometer) ในวันเก็บเกี่ยว และนำมาเปรียบเทียบ พบว่า ความหวานอ้อยมี
ความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดย ตำรับการทดลองที่ 2 วิธีเกษตรกร และตำรับการ
ทดลองที่ 5 การให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยดค่า
ความหวานสูงสุดประมาณ 20.6 องศาบริกซ์ แสดงดังตารางที่ 7
ตารางที่ 7 ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตอ้อยปีที่ 3 (อ้อยตอสอง)
ตำรับ ผลผลิต ความยาวลำอ้อย ความหวานอ้อย
การทดลอง (กิโลกรัมต่อไร่) (เซนติเมตร) (องศาบริกซ์)
b
1 5,720 165 10.00
b
c
a
a
a
2 13,125 205 20.58
bc
a
3 14,150 179 19.84
a
4 14,225 187 20.17
a
abc
a
5 14,270 197 20.57
a
a
ab
F-test ** ** **
C.V. (%) 6.49 7.10 3.45
หมายเหตุ ** แตกต่างกันทางสถิติที่ p <0.01
ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันแสดงถึงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ
ความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT)