Page 28 - ผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่างจังหวัดนครสวรรค์ Effects of drip irrigation on sugarcane yield and qualityon calcareous soil in Nakhonsawan province
P. 28
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2.4 การเปรียบเทียบผลผลิตของอ้อย 3 ปี
2.4.1 ผลผลิตอ้อยรวม 3 ปี
จากการศึกษาผลของการใช้ระบบน้ำหยดต่อผลผลิตและคุณภาพของอ้อยในดินด่าง
จังหวัดนครสวรรค์ โดยทำการปลูกอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ตามวิธีการทดลอง ในพื้นที่บ้านเขาดิน หมู่
4 ตำบลหนองหลวง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งดินเป็นดินด่าง ทำการเปรียบเทียบผลผลิต
อ้อยรวม 3 ปี พบว่า ผลผลิตอ้อยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดย ตำรับการ
ทดลองที่ 5 การให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด
ให้ผลผลิตรวม 3 ปี มากที่สุด 70,825 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมา ตำรับการทดลองที่ 4 3 2 และท้ายสุด
ตำรับการทดลองที่ 1 โดยให้ผลผลิตเท่ากับ 65,300 59,005 46,535 และ 26,410 กิโลกรัมต่อไร่
ตามลำดับ แสดงดังตารางที่ 8
2.4.2 ผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 3 ปี
จากการศึกษาเปรียบเทียบผลผลิตเฉลี่ยอ้อย 3 ปี พบว่า ผลผลิตอ้อยมีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดย ตำรับการทดลองที่ 5 การให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์
ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปีมากที่สุด 23,608 กิโลกรัม
ต่อไร่ รองลงมา ตำรับการทดลองที่ 4 3 2 และท้ายสุดตำรับการทดลองที่ 1 โดยให้ผลผลิตเท่ากับ
21,767 19,668 15,640 และ 8,759 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ จากผลการทดลองแสดงว่าการให้น้ำ
แบบระบบน้ำหยด ร่วมกับการใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน มีผลทำให้ผลผลิตอ้อยให้เพิ่มขึ้นโดย
วิธีการที่ 5 การให้น้ำเท่ากับ 150 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่ได้จากการประเมินในระบบน้ำหยด
เป็นวิธีการที่ดีที่สุดให้ผลผลิตอ้อยสูงสุดทั้ง 3 ปี แสดงดังตารางที่ 8
ตารางที่ 8 ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปี
ตำรับ ผลผลิตรวม 3 ปี ผลผลิตเฉลี่ย 3 ปี
การทดลอง (กิโลกรัมต่อไร่) (กิโลกรัมต่อไร่)
d
1 26,410 8,759
d
c
c
2 46,535 15,640
b
b
3 59,005 19,668
a
a
4 65,300 21,767
5 70,825 23,608
a
a
F-test ** **
C.V. (%) 7.01 7.40
หมายเหตุ ** แตกต่างกันทางสถิติที่ p <0.01
ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันแสดงถึงความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ
ความเชื่อมั่น 95% โดยวิธี Duncan’s Multiple Range Test (DMRT)