Page 15 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                        5. เก็บตัวอย่างดินที่ความลึก 0-15 เซ็นติเมตร โดยเก็บแบบ composite sample และหลังการเก็บ
               เกี่ยวผลผลิต แบบ composite sample เพื่อวิเคราะห์หาสมบัติทางเคมี ได้แก่ pH OM P K Ca Mg ปรับ

               ระดับดินให้สม่ำเสมอ แล้วคราดเก็บเศษซากของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลงให้หมด

                         6. การใส่ปุ๋ยเคมี
                              -  การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตรปุ๋ยที่แนะนำคือ 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25-30 กิโลกรัม/ไร่ ใส่เมื่อ

                                 ข้าวโพดหวานมีอายุ 20-25 วัน หลังปลูก ด้วยวิธีโรยข้างต้นในขณะดินมีความชื้น หรือให้
                                 น้ำตามหรือพูนโคนกลบปุ๋ยเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัว

                              -  การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดหวานอายุ 40-45 วัน หลังปลูก ถ้าข้าวโพดหวานแสดง

                                 อาการใบ เหลืองหรือต้นไม่สมบูรณ์ให้ใส่ปุ๋ย 46-0-0 (ยูเรีย) อัตรา 25 กิโลกรัม/ไร่ โรย
                                 ข้างต้นในขณะที่ดินมีความชื้นหรือให้น้ำดิน

                       7. การดูแลแปลงทดลอง ได้แก่ การจัดการน้ำในแปลงนา การกำจัดวัชพืช โดยใช้เครื่องตัดหญ้าและ

               แรงงานคน และการจัดการศัตรูพืช
                         การเก็บบันทึกข้อมูล

                        1. ข้อมูลวัสดุทางการเกษตร ได้แก่ ถ่านชีวภาพ ซิลิคอน ปูนมาร์ล

                        2. ข้อมูลดิน ก่อนการทดลองเก็บตัวอย่างดินและหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต แบบ composite
               sample เพื่อ วิเคราะห์หาสมบัติทางเคมี ได้แก่ pH  OM P K Ca Mg วัดความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ด้วย

               pH meter (สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน 2547) ปริมาณอินทรียวัตถุโดยวิธี Walkley Black
               (Walkley  et al.,1947) - ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ โดยวิธี spectrophotometer (Bray II et al., 1945) -

               โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ โดยวิธี flame photometer (Prall, 1965) และ แคลเซียมและแมกนีเซียม โดย
               วิธี Atomic absorption spectrophotometer

                        3. ข้อมูลด้านพืช

                              3.1 เก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานหวาน (ด้านความสูงของต้นตรงบริเวณข้อใบธง
               เมื่อข้าวโพดหวานหวานอายุ 60 วัน จำนวนใบ ความกว้างและความยาวของใบ)


                              3.2 เก็บข้อมูลองค์ประกอบผลผลิต (ความกว้าง ความยาวของฝัก น้ำหนักฝัก)


                             3.3 วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ทางสถิติ และเปรียบเทียบค่าความต่างโดยวิธี Duncan’s Multiple

               Range Test (DMRT) และแปลผลข้อมูล และวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเหนือต้นทุนผันแปร


               2.3. สถานที่ทำการวิจัย


                ในประเทศ/ต่างประเทศ      ชื่อประเทศ/จังหวัด       พื้นที่ที่ทำวิจัย       ชื่อสถานที่

                     ในประเทศ          ไทย/ปทุมธานี           ในกระถาง             สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1

                     ในประเทศ          ไทย/ปทุมธานี           ห้องปฏิบัติการ       สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1
                     ในประเทศ          ไทย/กรุงเทพมหานคร      ห้องปฏิบัติการ       กรมพัฒนาที่ดิน



                                                           15
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20