Page 10 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                              การใช้ปูนมาร์ลปรับปรุงพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด
                              การหว่านปูนมาร์ลให้ทั่ว พื้นนาเป็นวิธีที่ง่ายราคาถูกและนิยมมากที่สุด แล้วไถคลุกเคล้ากับ

               ดิน หมักไว้ในสภาพดินชื้น ประมาณ 7 วัน ก่อนเตรียมดินปลูกข้าวโพดหวานหวาน

               ปริมาณปูนที่แนะนำ
                              - ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงน้อย : ใส่ปูนมาร์ลหรือหินปูนบด 500 กิโลกรัมต่อไร่

                              - ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงปานกลาง : ใส่ปูนมาร์ลหรือหินปูนบด 1,000 กิโลกรัมต่อไร่
                              - ดินเปรี้ยวจัดที่เป็นกรดรุนแรงมาก : ใส่ปูนมาร์ลหรือหินปูนบด 1,000 - 1,500

               กิโลกรัมต่อไร่

                         จากปัญหาและข้อจำกัดของดินเปรี้ยวจัดทำให้ผลผลิตข้าวต่อไร่ต่ำ ประกอบกับราคาปุ๋ยเคมีเพิ่ม
               สูงขึ้น จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ส่งผลให้มีรายได้ลดลง และบางครั้งก็ประสบปัญหาขาดทุน สำหรับการ

               ปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดมีหลายวิธีเช่นการใส่วัสดุปรับปรุงดินที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ได้แก่วัสดุปรับปรุงดินทางการ

               เกษตร เช่นปูนมาร์ล โดโลไมท์ ปูนขาว รวมทั้งกรดซิลิคอน หรือในพื้นที่ชุมชนมีวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร
               เช่นแกลบ กากน้ำหมักชีวภาพ ฯ นำมาเผาทำถ่านชีวภาพโดยผ่านขบวนการไพโรไรซีสที่ควบคุมอุณหภูมิและ

               บรรยากาศที่อุณหภูมิเกิน 300 องศาเซลเซียส ได้ถ่านชีวภาพที่มีคุณสมบัติในการนำไปในดินเพื่อเพิ่มความ

               อุดมสมบูรณ์ ปรับปรุงโครงสร้างของดิน เป็นวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน มีรูพรุน เมื่อใส่ลงดินทำให้ดินร่วนซุย อุ้ม
               น้ำและทำให้ระบายอากาศได้มากขึ้น ลดความรุนแรงของกรดในดินเพราะมีฤทธิ์เป็นด่าง  เพิ่มความสามารถใน

               การดูดซับธาตุอาหารพืช จึงเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (กรมพัฒนาที่ดิน,  2553) สำหรับปูนมาร์ล
               เกษตรกรที่ทำนาข้าวที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะใช้ปูนมาร์ลชนิดผง แต่การใช้ปูนมาร์ลชนิดผงแบบเดิมโดยวิธีหว่าน

               ให้ทั่วแปลงนาตามอัตราคำแนะนำ 500-2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก จึงทำให้เกิดปัญหาในการ
               ปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร สาเหตุเนื่องจากปูนมาร์ลมีน้ำหนักอัตราการใส่ต่อไร่สูงมาก

               เกษตรกรจึงใส่ไม่ครบอัตราตามคำแนะนำทางวิชาการ, ปูนมาร์ลชนิดผงเวลาหว่านฟุ้งกระจายบางครั้งไม่ทั่วถึง

               ทั้งแปลงติดตามร่างกาย บางคนแพ้ก็จะเกิดอาการผื่นคัน ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุมากประกอบกับ
               ขาดแคลนแรงงานภาคเกษตรกรรม ส่วนซิลิคอน ได้จากการนำกรดซิลิคอน (ซิลิคอนในรูปที่พืชสามารถ

               นำไปใช้ได้) ไปผสมกับปุ๋ยในสัดส่วนที่เหมาะสมตามคำแนะนำ เมื่อนำปุ๋ยกรดซิลิคอนไปใส่ให้พืชที่ปลูก

               ซิลิคอนจะช่วยให้ใบพืชตั้งชันจึงรับแสงได้เต็มที่ กระบวนการสังเคราะห์แสงเกิดได้ดี พืชเจริญเติบโตได้ดี ลำต้น
               พืชแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย และเพิ่มความต้านทานต่อการเข้าทำลายของเชื้อรา แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่

               เหมาะสม จึงช่วยให้ผลผลิตพืชสูงขึ้น (กรมพัฒนาที่ดิน,  2558) การใช้กรดซิลิคอนกับข้าว เมื่อสะสมอยู่ที่ใบ

               อย่างต่อเนื่องจะเปลี่ยนเป็นกรดซิลิเกตเคลือบที่ใบเหมือนเป็นเกราะป้องกันพืช ทำให้ใบพืชมีลักษณะใบหนา
               ช่วงทำให้ผิวพืชแข็งแรง ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืช โดยกรดซิลิคอนจะซึมอยู่บนผิวของพืช ซึ่งผิวทางกายภาพนี้

               จะช่วยลดการแทรกซึมของสาเหตุโรคอื่นๆ เช่น โรคเชื้อรา เป็นต้น (Danoff, 2001) การใช้กรดซิลิคอนในการ
               ปรับปรุงพื้นที่เปรี้ยวจัดยังมีส่วนช่วยลดความเป็นพิษของเหล็ก อะลูมินัมและแมงกานิส และช่วยเพิ่มความเป็น

               ประโยชน์ของฟอสฟอรัส (บรรเจิดลักษณ์,  2556)






                                                           10
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15