Page 19 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




               ปลูกรวมถึงการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัดคอส พบว่าการใส่ถ่านชีวภาพในอัตราส่วนที่แตกต่างกันทํา

               ให้คุณสมบัติทางเคมีของดินปลูกมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความเป็น

               กรด-ด่าง (pH) โดยมีค่าสูงขึ้นเมื่ออัตราการใส่ถ่านชีวภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งอธิบายได้ว่า เนื่องจากบริเวณพื้นผิวถ่าน

               ชีวภาพจะมีประจุลบของหมู่ฟีนอลิก หมู่ไฮดรอกซิล และหมู่คาร์บอนิล ซึ่งจะทำหน้าที่จับไฮโดรเจนไอออน

               (H ) ที่ละลายอยู่ในดิน นอกจากนี้ ซิลิเกต คาร์บอเนต และไบคาร์บอเนตที่ปรากฏอยู่ในถ่านชีวภาพยังช่วยใน
                 +
               การจับไฮโดรเจนไอออนอีกทางหนึ่ง ทำให้ไฮโดรเจนไอออนที่ละลายอยู่ในดินมีปริมาณลดลงส่งผลให้ดินมี

               ความเป็นกรดลดลง (pH เพิ่มขึ้น) (Brewer and Brown, 2012) และ (Chintalaet al., 2014) นอกจากนั้น

               แล้วปูนมาร์ลยังช่วยเพิ่มความเป็นกรด-ด่างของดินอีกด้วย


                              2.2 ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (เปอร์เซนต์)


                       ก่อนดำเนินการทดลองปริมาณอินทรียวัตถุในดินมีเพียง 2.3 เปอร์เซ็นต์ และหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต

               ข้าวโพดหวานหวาน พบว่า ทุกตำรับการทดลองปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (ตารางที่ 4) มีการเปลี่ยนแปลง

               เพิ่มขึ้น 5.45-6.35 โดยตำรับการทดลองที่มีการใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพปั้นเม็ดทุก
               อัตราส่วนให้ค่าปริมาณอินทรียวัตถุในดินสูงกว่าตำรับควบคุมและตำรับการใช้ซิลิคอนหรือปูนมาร์ลเพียงอย่าง

               เดียว ทั้งนี้ อาจเป็นผลเนื่องมาจากถ่านชีวภาพ (ตำรับที่ 4-7) ช่วยดูดซับปริมาณอินทรียวัตถุในดินและช่วยเพิ่ม

               ปริมาณคาร์บอนในดิน อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าตำรับทดลองที่ 7  การใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่าน
               ชีวภาพ ปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 1 : 2 ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้นสูงกว่าตำรับการทดลองอื่นๆ ทั้งนี้

               เนื่องจาก ถ่านชีวภาพมีปริมาณเปอร์เซนต์อินทรียวัตถุสูงและจากการวิเคราะห์ถ่านชีวภาพ พบว่า มีปริมาณ
               อินทรียวัตถุสูงถึง 7.57 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และช่วยเพิ่มของปริมาณชีว

               มวลในดินจากปริมาณเศษซากพืชนั้น ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองปลูกไม้ผลชนิดต่างๆ ของพินิจภณ (2557)

               ศึกษาการใช้ถ่านชีวภาพในสภาพดินที่ค่อนข้างเป็นทรายจัด พบว่าการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับถ่านชีวภาพ ทำให้ดิน
               มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มสูงขึ้น ไม้ผลเจริญเติบโตได้ดีและบางชนิดเริ่มให้ผลผลิต และจากการศึกษาอัตราส่วน

               ที่เหมาะสมของถ่านชีวภาพต่อคุณสมบัติทางเคมีของดินปลูกรวมถึงการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักสลัด
               คอส พบว่า การใส่ถ่านชีวภาพในอัตราส่วนที่แตกต่างกันทําให้ปริมาณอินทรียวัตถุของดินปลูกมีค่าแตกต่างกัน

               อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยมีค่าสูงขึ้นเมื่ออัตราการใส่ถ่านชีวภาพเพิ่มขึ้น (เกศศิรินทร์และคณะ, 2557)

               นอกจากนั้นการใส่ถ่านชีวภาพร่วมกับการให้ปุ๋ยเคมีในการปลูกข้าวไร่ พบว่า มีผลทำให้ดินที่ระดับความลึก 0-
               15 เซนติเมตร ที่ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว

               (จิตนิภา, 2558)












                                                           19
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24