Page 11 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                    กรดซิลิคอน
                       เป็นแร่ธาตุอาหารเสริมที่มีประโยชน์ต่อพืชทุกชนิด สามารถละลายน้ำได้ง่าย (Marschner,1995) พืช

               สามารถดูดซิลิคอนในรูปของกรดโมโนซิลิซิกไปพร้อมกับน้ำ โดยผ่านทางรากสู่ลำต้นและทางใบ ซิลิคอนที่ใส่ลง

               ไปในดินมีผลดีต่อการเจริญเติบโตทั้งทางตรงและทางอ้อมของพืชปลูก การใช้กรดซิลิคอนกับข้าว เมื่อสะสมอยู่

               ที่ใบอย่างต่อเนื่องจะเปลี่ยนเป็นกรดซิลิเกตเคลืบที่ใบเหมือนเป็นเกาะป้องกันพืชทำให้ใบพืชมีลักษณะใบหนา

               ช่วยทำให้ผิวพืชแข็งแรง ลำต้นแข็งแรงไม่หักล้มง่าย ช่วยยับยั้งการเกิดโรงพืช โดยกรดซิลิคอนจะซึมออยู่บนผิว

               ของพืช ซึ่งผิวทางกายภาพนี้จะช่วยลดการแซกซึมของสาเหตุโรคอื่นๆ เช่นโรคเชื่อรา เป็นต้น ช่วยป้องกัน


               แมลง เพี้ย หนอนไส้เดือนฝอย (Danoff, 2001) นอกจากนี้ กรดซิลิคอนยังช่วยเพิ่มผลผลิตเพิ่มรสชาติเพิ่ม
               น้ำหนัก เพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน การใช้กรดซิลิคอนในการปรับปรุงพื้นที่เปรี้ยว


               จัดยังมีส่วนช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กอลูมินัมและแมงกานิสและช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของ
               ฟอสเฟอรัส จากข้อมูลดังกล่าว จึงเห็นควรให้มีการนำซิลิคอนมาทดลองใช้ในการปลูกข้าวในดินเปรี้ยวจัด การ


               ใช้ซิลิคอนจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาความอุดมสมบูรณ์ของดินได้หรือไม่ ผลผลิตพืชที่ได้รับจะคุ้มค่าต่อการ
               ลงทุนมากน้อยเพียงใด การทดลองนี้จะทำให้ทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรและผู้ที่สนใจทั่วไป


               (บรรเจิดลักษณ์,  2556)
                       ปัทมา ทองซ้อน (2559) ได้ศึกษาผลของซิลิกอนและไนโตรเจนต่อการเจริญเติบโตและการดูดใช้ธาตุ

               อาหารของข้าว กข21 และ กข47 ในระยะแตกกอ การให้ไนโตรเจนในรูปของยูเรีย (CH4N2O) อัตรา 10 และ

               20 กิโลกรัมไนโตรเจน/ไร่ และซิลิกอนในรูปโซเดียมซิลิเกต (Na2SiO3.5H2O) อัตรา 0 และ 80 กิโลกรัม
               ซิลิกอน/ไร่ พบว่าการเจริญเติบโต ความสูง และการดูดใช้ธาตุซิลิกอนในใบข้าวทั้ง 2 พันธุ์ เพิ่มขึ้นตามอายุของ

               ใบในทุกตำรับการทดลอง การสะสมซิลิกอนในลำต้นไม่แตกต่างกันทุกตำรับทดลอง ในขณะที่ต้นข้าวพันธุ์ กข

               47 มีปริมาณไนโตรเจนในทุกตำรับการทดลองสูงกว่าพันธุ์ กข21 นอกจากนี้การใส่ซิลิกอนทำให้ความเข้มข้น
               ของไนโตรเจนสูงกว่าตำรับที่ไม่มีการใส่

                          บรรเจิดลักษณ์ จินตฤทธิ์ (2556) ได้ศึกษาการใช้ซิลิคอนเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในดินเปรี้ยวจัดอย่าง

               ยั่งยืน ได้ดำเนินการในพื้นที่ของสถานีพัฒนาที่ดินปทุมธานี ชุดดินรังสิต ผลการวิจัยพบว่า สมบัติทางเคมีของ
               ดินดีขึ้นโดยรวม ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง เปอร์เซ็นอินทรีย์วัตถุ ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัส

               ปริมาณของแคลเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ผลผลิตของข้าว พบว่า การใช้ซิลิคอนอัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุ๋ย
               อินทรีย์คุณภาพสูงของกรมพัฒนาที่ดินตามอัตราแนะนำ (300 กิโลกรัมต่อไร่) ให้ผลผลิตสูงสุด 603.27

               กิโลกรัมต่อไร่ และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจพบว่า ให้รายได้สุทธิ 4336.65 บาทต่อปี

                                  ถ่านชีวภาพ
                       ถ่านชีวภาพหรือไบโอชาร์ เป็นวัสดุที่ได้จากการนำมวลชีวภาพจากวัตถุดิบอินทรีย์ที่มาจากสิ่งมีชีวิต

               โดยตรง เช่น พืช  หรือจากของเสียเหลือใช้จากอุตสาหกรรม ผ่านกระบวนการย่อย เป็นผลผลิตที่ได้จากชีว
               มวลผ่านความร้อนในกระบวนการไพโรไลซีสที่ควบคุมอุณหภูมิและบรรยากาศ ที่อุณหภูมิเกิน 300 องศา

               เซลเซียส  มีผลพลอยได้ 2 ชนิด คือ น้ำมันชีวภาพ (Biofuel) หรือแก๊ส (H  CO) และไบโอชาร์ มีการนำไปใน
                                                                             2


                                                           11
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16