Page 18 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 18
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2. สมบัติทางเคมีของดินหลังสิ้นสุดการทดลอง ที่ระดับความลึก 0-20 เซนติเมตร
ตารางที่ 4 แสดงค่าวิเคราะห์ดินก่อนและหลังสิ้นสุดการทดลอง
ตำรับการ pH %OM P K Ca Mg
ทดลอง (mg kg-1) (mg kg-1) (mg kg-1) (mg kg-1)
ก่อน 4.5 2.3 14 85 1850 460
หลัง - - - - - -
T1 4.60 5.45 22.50 280.00 2168.25 747.25
T2 4.68 5.42 45.75 282.50 2816.00 750.50
T3 4.83 5.71 39.00 295.50 2178.25 719.25
T4 5.33 5.98 34.25 282.00 2300.00 785.00
T5 5.40 5.95 34.00 273.00 2526.25 737.25
T6 5.18 6.15 31.00 285.00 2282.75 744.50
T7 5.38 6.35 31.75 283.50 2667.75 713.50
2.1 ปฏิกิริยาความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH)
หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวานหวาน พบว่า ทุกตำรับการทดลองที่มีการใช้ถ่าน
ชีวภาพปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของดิน (ตารางที่ 4) มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อน
ดำเนินการทดลอง และ มีค่าใกล้เคียงกันทุกตำรับการทดลอง โดยมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.6-5.38 และ พบว่า
ตำรับการทดลองที่ใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพปั้นเม็ดทุกอัตราส่วนให้ค่า pH สูงกว่า ตำรับ
ควบคุมและตำรับการใช้ซิลิคอนเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ อาจเป็นผลเนื่องมาจากปูนมาร์ลและถ่านชีวภาพ (ตำรับ
ที่ 4-7) ช่วยปรับสภาพ pH ของดิน มีผลทำให้ปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของดินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ซึ่ง
สอดคล้องกับการทดลองของ ศิริลักษณ์และอรสา (2556) ศึกษาการใช้อัตราส่วนผสมระหว่างปุ๋ยคอกและถ่าน
ชีวภาพในการปลูกผักคะน้า พบว่า ถ่านชีวภาพช่วยทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินเพิ่มขึ้น และ จาก
การศึกษาของเสาวคนธ์ (2557) โดยศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของถ่านชีวภาพต่อคุณสมบัติทางเคมีของดิน
18