Page 20 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 20
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2.3 ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
ก่อนดำเนินการทดลองปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินมีเพียง 14 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
อยู่ในระดับปานกลาง หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวาน พบว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน
เพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลอง (ตารางที่ 4) และอยู่ในระดับสูง โดยตำรับการทดลองที่มีการใช้ปูนมาร์ลมีปริมาณ
ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินสูงที่สุดเท่ากับ 45.75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาได้แก่ การใช้ปูนมาร์ล
ผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพปั้นเม็ดทุกอัตราส่วนมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินอยู่ระหว่าง
31.75-34.25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนตำรับควบคุมมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินต่ำที่สุดเท่ากับ
22.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และอาจเนื่องจาก คุณสมบัติของถ่านชีวภาพซึ่งมีความพรุนรวมสูง จึงช่วยดูดซับ
ธาตุอาหารได้ดีและช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ทำให้ดินมีธาตุอาหารที่อุดมสมบูรณ์
(Peterson, 2009 และ Mastoet al., 2013) และสอดคล้องกับการศึกษาทดลองของ Zhanget al. (2016)
ได้ศึกษาบทบาทของถ่านชีวภาพที่มีผลต่อความเป็นประโยชน์และการดูดซับธาตุฟอสฟอรัสในดิน พบว่า ถ่าน
ชีวภาพช่วยเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสในดิน แต่ปริมาณการดูดซับนั้นขึ้นอยู่กับวัสดุที่นำมาทำ
ถ่านชีวภาพและนอกจากนั้นแล้วการใส่ปูนมาร์ลช่วยทำให้ pH ในดินเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงใน
สภาพดินเป็นกรด ปลดปล่อยออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย
2.4 ปริมาณโพแตสเซียมที่สกัดได้ในดิน (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
ก่อนดำเนินการทดลองปริมาณโพแทสเซียมที่สกัดในดินมี 85 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ใน
ระดับปานกลาง หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวโพดหวาน พบว่า ปริมาณโพแทสเซียมที่สะกัดในดินมีการ
เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นทุกตำรับการทดลองและอยู่ในระดับสูงมาก (ตารางที่ 4) มีค่าอยู่ระหว่าง 273-295.50
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตำรับควบคุมมีปริมาณโพแทสเซียมที่สะกัดได้ในดินต่ำที่สุดเท่ากับ 273 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม ทั้งนี้เนื่องจาก กรรมวิธีที่มีการใส่ถ่านชีวภาพจะช่วยเพิ่มปริมาณโพแทสเซียมที่สะกัดได้ในดินเพิ่ม
สูงขึ้น เนื่องจาก คุณสมบัติของถ่านชีวภาพซึ่งมีความพรุนรวมและมีค่าความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนสูง
จึงช่วยดูดซับธาตุอาหารได้ดี(Peterson,2009) และสอดคล้องกับการศึกษาทดลองของพุทธิภณและคณะ
(2557) พบว่า ดินที่มีการใส่ถ่านชีวภาพทำให้โพแทสเซียมที่มีอยู่ในดินไม่ถูกชะล้างให้สูญหายไปในดินได้
โดยง่าย เนื่องจากถ่านชีวภาพมีค่าความจุในการแลกเปลี่ยนแคตไอออนสูงจึงมีผลทำให้หลังสิ้นสุดการทดลอง
ดินมีปริมาณโพแทสเซียมที่สะกัดได้ในดินสูง
20