Page 14 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




               2.วิธีการดำเนินการวิจัย
                        2.1 วางแผนการทดลองและการดำเนินการวิจัย

               วางแผนการทอดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD) จำนวน 7 วิธีการ 4 ซ้ำ ดังนี้

                       ตำรับทดลองที่ 1 ตำรับควบคุม (Control)
                       ตำรับทดลองที่ 2 ใช้ปูนมาร์ล ตามค่าความต้องการของปูนของดิน

                       ตำรับทดลองที่ 3 ใช้กรดซิลิคอน 100 กก.ต่อไร่
                       ตำรับทดลองที่ 4 ใช้ถ่านชีวภาพ อัตรา 2 ตันต่อไร่

                       ตำรับทดลองที่ 5 ใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพ ปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 1 : 1

                       ตำรับทดลองที่ 6 ใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพ ปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 2 : 1
                       ตำรับทดลองที่ 7 ใช้ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพ ปั้นเม็ดอัตราส่วน 1 : 1 : 2



               หมายเหตุ  - ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
                       - ถ่านชีวภาพทำจากแกลบ และบดเรียบร้อยแล้วถึงนำมาปั้นเม็ด

                       - ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพ ปั้นเม็ด อัตราส่วน 1 : 1 : 1 หมายความว่า ผสมปูนมาร์ล

               อัตราตามค่าความต้องการปูนของดิน กรดซิลิคอนอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ อัตรา 2 ตันต่อไร่
               เมื่อปั้นเม็ดแล้วใช้ในอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่

                       - ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพ ปั้นเม็ด อัตราส่วน 1 : 2 : 1 หมายความว่า ผสมปูนมาร์ล
               อัตราตามค่าความต้องการปูนของดิน กรดซิลิคอนอัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ อัตรา 2 ตันต่อไร่

               เมื่อปั้นเม็ดแล้วใช้ในอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่
                       - ปูนมาร์ลผสมกรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพ ปั้นเม็ด อัตราส่วน 1 : 1 : 2 หมายความว่า ผสมปูนมาร์ล

               อัตราตามค่าความต้องการปูนของดิน กรดซิลิคอนอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ อัตรา 4 ตันต่อไร่

               เมื่อปั้นเม็ดแล้วใช้ในอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่


                    2.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน

                           1. คัดเลือกพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดสำหรับทำแปลงวิจัย ในจังหวัดปทุมธานี
                              2. เตรียมดินปลูก   แบ่งพื้นที่เป็นแปลงย่อย ขนาด 4.8x6 ตารางเมตร จำนวน 39 แปลง

               ระยะห่างระหว่างแปลงย่อย 1 เมตร ระหว่างซ้ำ 2 เมตร ขุดดินหรือพรวนดินให้ร่วนโปร่ง และมีความลึก

               ประมาณ 25 เซนติเมตร แล้วยกร่องเป็นลูกฟูกสูง 25 เซนติเมตร ให้มีร่องระบายน้ำ ใส่วัสดุปรับปรุงดินตาม
               กรรมวิธีที่กำหนดคลุกเคล้าในชุดดินเปรี้ยวจัดตามอัตราที่คำนวณโดยปรับระดับความเป็นกรด-ด่างที่  pH 5.5

               ก่อนปลูกข้าวโพดหวานหวานประมาณ 15-20 วัน หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 1.5 ตันต่อไร่ คลุกเคล้า
               ทั่วแปลงย่อย

                          3. เก็บตัวอย่างถ่านชีวภาพ เพื่อวิเคราะห์ทางเคมี หาค่า pH, N, P, K, Ca, Mg, Si, ความพรุน

               (Porosity)
                        4. เก็บตัวอย่างปูนมาร์ล  เพื่อวิเคราะห์หาค่า pH



                                                           14
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19