Page 12 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




               ดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ปรับปรุงโครงสร้างของดิน ไบโอชาร์ ผ่านกระบวนการทางเคมีจึงทำให้มีความ
               เสถียรในดินสูง ไบโอชาร์จึงเป็นวัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน มีรูพรุน เมื่อใส่ลงดินทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำและทำให้

               ระบายอากาศได้มากขึ้น ลดความรุนแรงของกรดในดินเพราะมีฤทธิ์เป็นด่าง  เพิ่มความสามารถในการดูดซับ

               ธาตุอาหารพืช จึงเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร และเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน
               (กรมพัฒนาที่ดิน, 2553)

                       Masulili et a. (2010) ได้ศึกษาถ่านชีวภาพจากแกลบสำหรับระบบเพาะปลูกข้าวในดินกรด
               คุณลักษณะของถ่านชีวภาพจากแกลบ และผลกระทบต่อคุณสมบัติของดินกรดกำมะถันและการเติบโตของข้าว

               ในกาลิมันตันตะวันตก อินโดนีเซียโดยเปรียบเทียบการใช้วัสดุที่ต่างกัน  ได้แก่ 1) ไม่มีสารปรับปรุงดิน 2) ฟาง

               ข้าว (RS) 15.0 ตันต่อเฮกแตร์ 3) แกลบ (RH) 15.0 ตันต่อเฮกแตร์ 4) ขี้เถ้าแกลบ (RHA) 10.0 ตันต่อเฮกแตร์
               5) ถ่านชีวภาพจากแกลบ (RHB) 10.0 ตันต่อเฮกแตร์ 6) Chromolaenaodorata (Chr) 15.0 ตันต่อเฮกแตร์

               ผลการทดลอง พบว่า ถ่านชีวภาพที่ผลิตจากแกลบ พบว่า มีความชื้นร้อยละ 4.96 มีค่า pH 8.70 ค่าความจุ

                                                               1
               แลกเปลี่ยนแคทไอออน (CEC) เท่ากับ 17.6 Cmol kg-  เมื่อนำถ่านชีวภาพใส่ในดินที่ปลูกข้าวในดินกรด
               พบว่า ทำให้ค่าความหนาแน่นรวมของดินลดลง และมีค่าความพรุน ความชื้น ปริมาณคาร์บอน ปริมาณ

               ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ ค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน และ

               แคลเซียมเพิ่มขึ้น
                       Wu et al. (2010) ได้ศึกษาผลของการใช้ไบโอชาร์จากแกลบ ผลิตภายใต้กระบวนการไพโรไลซิสอ

               ย่างช้าๆ ในการเจริญเติบโตของผักบุ้ง ณ ประเทศไต้หวัน โดยทำการทดลองเปรียบเทียบ วัสดุ 2 ชนิด โดยได้
               ดำเนินการกับดินกรดในป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และแกลบใช้ตามอัตราแนะนำ คือ 10.0 ตันต่อเฮกแตร์

               ประกอบด้วย 5 วิธีการทดลอง คือ มีการใส่ปุ๋ยเคมี 5 ระดับ วัสดุ 2 ชนิด คือไบโอชาร์จากแกลบ และไม้ ผล
               การศึกษา พบว่า แปลงที่ใส่ถ่าน   ไบโอชาร์จากแกลบ ผักบุ้งที่อายุ 8 สัปดาห์ มีความเจริญเติบโต ด้านจำนวน

               ใบ ก้านใบ ขนาดราก ความยาวและความกว้างของใบ และน้ำหนัก มากกว่าแปลงที่ใส่ไบโอชาร์จากไม้

                       Oguntund et al. (2008) ได้ศึกษาผลของถ่านชีวภาพที่มีต่อสมบัติทางกายภาพของดินในประเทศ
               กานา โดยเปรียบเทียบดินที่ใส่และไม่ใส่ถ่านชีวภาพ พบว่า ดินที่มีการใส่ถ่านชีวภาพ มีค่าความสามารถในการ

               นำน้ำในสภาพที่อิ่มตัว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 88.0 สีของดินมีสีคล้ำขึ้น ค่าความหนาแน่นรวมของดินลดลงร้อยละ

               9.00 มีค่าความพรุนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.7 เป็นร้อยละ 50.6
                       จากการศึกษาวิจัยของบรรเจิดลักษณ์และคณะ(2559) ในด้านสมบัติของถ่านชีวภาพต่อสมบัติของดิน

               และผลผลิตพืชสมุนไพรขมิ้นชันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด ซึ่งดำเนินการที่มูลนิธิชัยพัฒนา อำเภอบ้านนา จังหวัด

               นครนายกระหว่างปี พ.ศ.2557-2559 ในชุดดินรังสิตกรดจัด โดยใช้ถ่านชีวภาพจากแกลบดิบ (rice husk)
               อัตราแตกต่างกันร่วมกับการใช้ปุ๋ยมูลไก่ 1 ตัน/ไร่ ในระบบเกษตรอินทรีย์ จากผลการทดลอง พบว่า การใช้

               ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น ค่าพีเอชปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่ม
               มากขึ้น สำหรับปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และ แคลเซียมในดินเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจนในทุกตำรับการ

               ทดลอง ส่วนปริมาณแมกนีเซียมมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน และจากการใช้ถ่านชีวภาพอัตราต่างๆที่

               มีต่อผลผลิต พบว่า ทำให้ผลผลิตของขมิ้นชันเพิ่มขึ้น โดยการใช้ถ่านชีวภาพ (จากเปลือกข้าว) 3 ตัน/ไร่ + ปุ๋ย





                                                           12
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17