Page 9 - ศึกษาอัตราส่วนผสมระหว่างปูนมาร์ล กรดซิลิคอนและถ่านชีวภาพเพื่อปั้นเม็ดเพื่อใช้ปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด Study the mixture ratio between marl, silicon and biochar to form pellets for increasing plant growth in acid sulfate soils
P. 9

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                 -  การกำจัดวัชพืช ทำพร้อมๆกับการกลบโคนต้นและการให้ปุ๋ย
                                 -  การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปลูกข้าวโพดหวานต้องระวังในเรื่องของ

                                 หนอนเจาะฝัก หรือเจาะลำต้น ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีเซฟวิน หรือสารพวกถูกต้องตาย

                                 เช่น  เมธโธมิล


                              การเก็บเกี่ยว
                                จะเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานในระยะที่เหมาะสมที่สุด คือระยะ 70-75 วัน หลังข้าวโพดหวาน

               หวานออกไหม 50% (ข้าวโพดหวาน 100 ต้น ออกไหม 50 ต้น) แต่ถ้าปลูกในช่วงอากาศหนาวเย็น อายุเก็บเกี่ยว
               อาจจะยืดออกไปอีก 7-10 วัน ควรเก็บเกี่ยวในเช้าตรู่ แล้วรีบนำส่งโรงงานหรือนำไปจำหน่ายโดยเร็ว เพื่อ

               ป้องกันการสูญเสียน้ำและความหวาน เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของเมล็ดและน้ำหนักของฝัก

                               การเก็บเกี่ยวฝักสด
                              ข้าวโพดหวานจะมีคุณภาพดีและหวาน ไม่ว่าจะเป็นส่งโรงงานหรือจำหน่ายฝักสด และ

               คุณภาพดีที่สุด หรือระยะที่เรียกว่าระยะน้ำนม หากเลยระยะนี้ไปแล้วปริมาณน้ำตาลจะลดลงและมีแป้งเพิ่มขึ้น
                                  การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานมีหลักพิจารณาง่ายๆคือ นับอายุหลังจากวันหยอดเมล็ด วิธีการนี้

               ต้องทราบอายุของข้าวโพดหวานแต่ละพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์ หนัก เบา หรือปานกลาง เช่น

                              -  พันธุ์เบา อายุ 55-65 วัน

                              -  พันธุ์ปานกลาง อายุ 70-85 วัน
                              -  พันธุ์หนัก อายุ ตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป

                                เก็บสุ่มตัวอย่างในแปลงมาตรวจดู วิธีนี้แน่นอนและนิยมทำกันมากที่สุด การเก็บเกี่ยวข้าวโพด
               หวาน ควรเก็บในเวลาเช้าตรู่ และรีบส่งตลาดทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้น้ำตาลลดลง

                                หลังเก็บฝักข้าวโพดหวานแล้ว ให้ไถกลบต้นข้าวโพดหวานหวานเป็นปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่ม

               อินทรียวัตถุในดิน และช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย
                              การขนส่ง

                                 ถ้ามีผลผลิตจำนวนมากและต้องขนส่งในระยะทางไกลที่ใช้เวลาขนส่งนานกว่า 3 ชั่วโมง ควร
               ทำปล่องด้วยท่อเอสลอน ขนาดเส้นผ่าศูนย์ผ่ากลาง ประมาณ 15 เซนติเมตร ยาว 3-4 เมตร เจาะรูขนาด

               เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร โดยรอบตลอดท่อหรือใช้หวายสานหรือไม้ไผ่ซีกประกอบเป็นท่อโปร่ง ทำเป็น
               ปล่องเสียบไว้ตรงกลางกองข้าวโพดหวานหวานหวาน จำนวน 2-3 อัน เพื่อช่วยระบายความร้อนและถ่ายเท

               อากาศ

                              ปูนมาร์ลหรือดินมาร์ล
                                องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCo3) และดินเหนียว (clay) ที่พบใน

               ประเทศไทยมักจะมีสีขาวหรือขาวขุ่นปนน้ำตาล เป็นหินปูนที่มีลักษณะเนื้อค่อนข้างร่วนสะสมเป็นชั้นอยู่ใต้ดิน

               มีคุณสมบัติในการแก้ความกรดของดินและเพิ่มธาตุอาหารพืชในดิน ชั้นที่พบอาจจะหนาถึง 4-6เมตร ที่พบเป็น
               แหล่งใหญ่อยู่ใต้ผิวประมาณ 1 เมตร ของชุดดินลพบุรีและสระบุรี สำหรับบริเวณอื่นๆ ที่มีภูเขาหินปูนอาจจะ

               พบปูนมาร์ลได้เช่นกัน



                                                            9
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14