Page 22 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 22

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                              เส้นรอบวงฝักข้าวโพด ปีที่ 1 พบว่าไม่มีความแตกต่างทางสถิติ มีค่าระหว่าง 19.3-20.3
                   เซนติเมตร วิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีเส้นรอบวงฝักของฝักมากสุด 20.3 เซนติเมตร ใกล้เคียงกับ
                   วิธีการที่ 2 การใช้ปุ๋ยมูลโค วิธีการที่ 7 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว ซึ่งมี
                   เส้นรอบวงฝักเท่ากันคือ 20.2 เซนติเมตร ส่วนวิธีการที่ 5 การใช้ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว

                   และวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีเส้นรอบวงฝักเท่ากันคือ 20.0 เซนติเมตร
                   สำหรับวิธีการที่ 1 วิธีเกษตรกร มีเส้นรอบวงฝักเฉลี่ยน้อยสุด 19.3 เซนติเมตร และปีที่ 2 พบว่ามีเส้นรอบวงฝัก
                   ระหว่าง 18.8 - 21.2 เซนติเมตร โดยการใช้ปุ๋ยมูลโค และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีแนวโน้มเส้นรอบวงฝักมาก
                   ที่สุด ขณะที่วิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีเส้นรอบวงฝักเฉลี่ยน้อยสุด 18.8
                   เซนติเมตร อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในภาพรวมตลอดการทดลอง พบว่าแต่ละวิธีการมีเส้นรอบวงของฝัก
                   ใกล้เคียงกัน มีค่าระหว่าง 19.4-20.7 เซนติเมตร ค่าเฉลี่ย 20.1 เซนติเมตร(ตารางที่ 10)

                   ตารางที่ 10 เส้นรอบวงฝักข้าวโพดหวาน (เซนติเมตร)
                                       วิธีการ                       ปีที่ 1        ปีที่ 2     ค่าเฉลี่ย
                     1. วิธีเกษตรกร                                  19.3          20.4          19.9

                     2. ปุ๋ยมูลโค                                    20.2          21.2          20.7
                     3. ปุ๋ยหมัก                                     19.9          20.1          20.0
                     4. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง                        20.3          21.0          20.7
                     5. ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว     20.0          20.1          20.1
                     6. ปุ๋ยหมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว      19.7          20.5          20.1
                     7. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซม   20.2          20.8          20.5
                     8. ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว     20.0          18.8          19.4

                                                           เฉลี่ย    20.0          20.3          20.1
                                                          F-test      ns            ns

                                                         CV (%)      4.03          3.96

                              น้ำหนักเฉลี่ยต่อฝัก สุ่มข้าวโพดหวานจำนวน 10 ฝัก ชั่งน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก ปีที่ 1  พบว่าไม่
                   มีความแตกต่างทางสถิติ มีค่าระหว่าง 324.5-373.3 กรัมต่อฝัก โดยวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มี
                   น้ำหนักเฉลี่ยต่อฝักมากสุด 373.3 กรัมต่อฝัก รองลงมาคือวิธีการที่ 2 การใช้ปุ๋ยมูลโค  และวิธีการที่ 3 การใช้ปุ๋ย

                   หมัก ข้าวโพดหวานมีน้ำหนักฝักเฉลี่ย 363.7 และ 355.6 กรัมต่อฝัก ตามลำดับส่วนวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสด
                   ร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว ข้าวโพดหวานมีน้ำหนักเฉลี่ยต่อฝักน้อยสุด 324.5 กรัมต่อฝัก ปีที่ 2 พบว่า
                   น้ำหนักเฉลี่ยต่อฝักมีค่าระหว่าง 282.3-396.7 กรัมต่อฝัก แตกต่างทางสถิติ โดยวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
                   คุณภาพสูง มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อฝักมากสุดเช่นเดียวกับปีแรก มีค่า 396.7 กรัมต่อฝัก รองลงมาคือวิธีการที่ 7 การ
                   ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว วิธีการที่ 2 การใช้ปุ๋ยมูลโค วิธีการที่ 6 การใช้ปุ๋ย
                   หมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว และวิธีการที่ 1 วิธีเกษตรกร ข้าวโพดหวานมีน้ำหนักฝักเฉลี่ย 385.3
                   371.3 368.9 และ 364.2 กรัมต่อฝัก ตามลำดับ ในภาพรวมตลอดการทดลอง 2 ปี พบว่าน้ำหนักเฉลี่ยต่อฝักมี
                   ค่าระหว่าง 303.4 - 385.0 กรัมต่อฝัก โดยวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีน้ำหนักเฉลี่ยต่อฝักมาก
                   ที่สุด 385.0 กรัมต่อฝัก รองลงมาคือ วิธีการที่ 2 การใช้ปุ๋ยมูลโค  วิธีการที่ 7 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง

                   ร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว และวิธีการที่ 6 การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว
                   ข้าวโพดหวานมีน้ำหนักฝักเฉลี่ย 367.5 358.8 และ 358.1 กรัมต่อฝัก ตามลำดับ ส่วนวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืช
                   สดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว ข้าวโพดหวานมีน้ำหนักเฉลี่ยต่อฝักน้อยสุด 303.4 กรัมต่อฝัก (ตารางที่
                   11)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27