Page 20 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   เดียว เนื่องจากปอเทืองมีการนำธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน ทำให้ข้าวโพดได้รับธาตุ
                   อาหารไม่เพียงพอ และการตัดปอเทืองคลุมต้องใช้เวลาในการย่อยสลาย ธาตุอาหารที่ได้อาจไม่เพียงพอและไม่
                   ตรงตามเวลาที่ข้าวโพดหวานต้องการใช้เพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต เป็นผลทำให้ผลผลิตที่ได้รับน้อยกว่า
                   (ตารางที่ 7)

                              ความหวาน วัดจากปริมาณสารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Soluble Solids) ในน้ำคั้นเมล็ด
                   ข้าวโพดหวานสด โดยใช้เครื่องมือวัดความหวาน Brix  Refractometer ปีที่ 1 พบว่ามีความหวานเฉลี่ยระหว่าง
                   10.3 - 13.3 เปอร์เซ็นต์ ไม่แตกต่างทางสถิติ โดยวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงให้ความหวานสูงสุด

                   13.3 เปอร์เซ็นต์ ใกล้เคียงกับวิธีการที่ 2 การใส่ปุ๋ยคอกมูลโคที่มีความหวาน 13.1 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ
                   วิธีการที่ 6 การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีความหวานเฉลี่ย 12.7 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่
                   วิธีการที่ 3 การใส่ปุ๋ยหมักอย่างเดียวให้ความหวานน้อยสุด 10.3 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปีที่ 2 พบว่ามีความหวาน
                   เฉลี่ยระหว่าง 10.8 - 12.1 เปอร์เซ็นต์ โดยวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงให้ความหวานมากที่สุด
                   เช่นเดียวกับปีแรก มีความหวาน 12.1 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่วิธีการที่ 7 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูก
                   ปอเทืองแซม ให้ความหวานน้อยสุด 10.8 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในภาพรวมตลอดการทดลอง จะ
                   พบว่าวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ข้าวโพดมีความหวานเฉลี่ยมากสุดคือ 12.7 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา

                   คือวิธีการที่ 2 การใช้ปุ๋ยคอกจากมูลโค และวิธีการที่ 6 การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มี
                   ความหวานเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ 12.2 และ 12.0 เปอร์เซ็นต์และวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับ
                   ปลูกปอเทืองแซม ข้าวโพดให้ความหวานน้อยสุด 10.8 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 8)

                   ตารางที่ 7 ผลผลิตข้าวโพดหวาน (กิโลกรัมต่อไร่)

                                       วิธีการ                       ปีที่ 1        ปีที่ 2     ค่าเฉลี่ย
                     1. วิธีเกษตรกร                                 2,416.0      2,087.0 ab     2,251.5
                     2. ปุ๋ยมูลโค                                   2,576.2      2,004.8 ab     2,290.5
                     3. ปุ๋ยหมัก                                    2,509.0      2,064.0 ab     2,286.5
                     4. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง                       2,625.9      2,659.0 a      2,642.4
                     5. ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว    2,273.3      1,623.6 b      1,948.4
                     6. ปุ๋ยหมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว     2,082.7      1,791.0 ab     1,936.8
                     7. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซม   2,148.6     2,160.6 ab     2,154.6
                     8. ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว    2,075.4      1,322.0 b      1,698.7


                                                           เฉลี่ย   2,338.4       1,924.8       2,151.2
                                                          F-test      Ns            **
                                                         CV (%)      9.77          15.58
                    หมายเหตุ   ค่าเฉลี่ยแนวตั้งที่ตามด้วยตัวอักษรเดียวกันแสดงว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ  โดยวิธีการ
                   DMRT
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25