Page 19 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 19
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ตารางที่ 6 เส้นรอบวงโคนต้นข้าวโพดหวาน (เซนติเมตร)
วิธีการ ปีที่ 1 ปีที่ 2 ค่าเฉลี่ย
1. วิธีเกษตรกร 7.00 ab 7.77 7.39
2. ปุ๋ยมูลโค 7.27 ab 7.87 7.57
3. ปุ๋ยหมัก 7.33 ab 7.67 7.50
4. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง 7.57 a 8.30 7.94
5. ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว 6.53 ab 7.53 7.03
6. ปุ๋ยหมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว 5.93 b 8.20 7.07
7. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซม 6.27 ab 7.80 7.04
8. ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว 6.97 ab 6.83 6.90
เฉลี่ย 6.86 7.75 7.31
F-test * ns
CV (%) 7.21 7.64
หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยแนวตั้งที่ตามด้วยตัวอักษรเดียวกันแสดงว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยวิธีการ DMRT
ผลผลิต และคุณภาพความหวาน
ผลผลิต ปีที่ 1 เก็บผลผลิตข้าวโพดหวานที่อายุ 73 วัน พบว่าข้าวโพดหวานให้ผลผลิตน้ำหนักฝัก
สดเฉลี่ยระหว่าง 2,075.4-2,625.9 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ โดยวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
คุณภาพสูง ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 2,625.9 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือวิธีการที่ 2 การใส่ปุ๋ยคอกมูลโค และ
วิธีการที่ 3 การใส่ปุ๋ยหมัก ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,576.2 และ 2,509.0 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ สำหรับวิธีการที่ 8
การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถวแล้วตัดคลุม ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด 2,075.4 กิโลกรัม
ต่อไร่ เนื่องจากปริมาณมวลชีวภาพที่ค่อนข้างน้อย ทำให้ปริมาณธาตุอาหารที่ได้จากปุ๋ยพืชสดอาจไม่เพียงพอต่อ
การให้ผลผลิตพืช อีกทั้งปอเทืองที่ปลูกแซมระหว่างแถวมีการดึงดูดธาตุอาหารที่มีในดินไปใช้เพื่อการ
เจริญเติบโตด้วยเช่นกัน จะเห็นว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงให้ผลผลิตข้าวโพดสูงสุด ส่วนปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก
ก็ให้ผลผลิตข้าวโพดหวานใกล้เคียงกันประมาณ 2,500 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เมื่อใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับการปลูก
ปอเทืองแซมระหว่างแถว พบว่ามีแนวโน้มในการให้ผลผลิตน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก
ปอเทืองมีการนำธาตุอาหารจากปุ๋ยไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตด้วย ทำให้ข้าวโพดได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ และ
เป็นผลทำให้ผลผลิตที่ได้รับน้อยกว่า ปีที่ 2 เก็บผลผลิตข้าวโพดหวานที่อายุ 75 วัน พบว่าข้าวโพดหวานให้
ผลผลิตเฉลี่ยระหว่าง 1,332.0-2,659.0 กิโลกรัมต่อไร่ แตกต่างกันทางสถิติ โดยวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์
คุณภาพสูง ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 2,659.0 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาคือวิธีการที่ 7 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
ร่วมกับปลูกปอเทืองแซม และวิธีการที่ 3 การใส่ปุ๋ยหมัก ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,160.6 และ 2,064.0 กิโลกรัมต่อไร่
ตามลำดับ สำหรับวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถวแล้วตัดคลุม ให้ผลผลิต
เฉลี่ยต่ำสุดเช่นเดียวกับปีแรก คือให้ผลผลิต 1,332.0 กิโลกรัมต่อไร่
เมื่อมองในภาพรวมผลผลิตตลอดการทดลอง พบว่าวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ให้
ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 2,642.4 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกปอเทืองแซม
ระหว่างแถวแล้วตัดคลุม ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่ำสุด 1,698.7 กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางที่ 5) จะเห็นว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
คุณภาพสูงให้ผลผลิตข้าวโพดหวานสูงสุด เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการ
เจริญเติบโตของพืชทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูงกว่าปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก การใช้ปุ๋ยคอกมูลโค
และปุ๋ยหมักให้ผลผลิตข้าวโพดหวานใกล้เคียงกันคือ 2,251.5 และ 2,290.5 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว พบว่ามีแนวโน้มในการให้ผลผลิตน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่าง