Page 25 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   8.0 7.7 และ 7.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ หลังเก็บผลผลิตปีที่ 2 พบว่ามีการสะสมของปริมาณ
                   ฟอสฟอรัสทั้งเพิ่มและลดลง มีค่าระหว่าง 5-26 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ค่าเฉลี่ย 11.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดย
                   วิธีการที่ 6 การใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีการสะสมของฟอสฟอรัสในดินมากสุด 26
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือวิธีการที่ 3 การใช้ปุ๋ยหมักอย่างเดียว วิธีการที่ 7 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง

                   ร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว และวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีการสะสมฟอสฟอรัสในดิน
                   19 11 และ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ วิธีการที่ 5 การใช้ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่าง
                   แถว และวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีการสะสมของฟอสฟอรัสในดิน
                   เท่ากันและน้อยที่สุด คือ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในภาพรวมจะพบว่ามีการสะสมของฟอสฟอรัสในดินมากกว่า
                   ก่อนการทดลอง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์
                   คุณภาพสูงมีแนวโน้มการสะสมมากกว่าชนิดอื่น จากการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ (ตาราง
                   ผนวกที่ 9) พบว่าปุ๋ยหมัก และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงมีปริมาณธาตุอาหารฟอสฟอรัสเฉลี่ย 1.71 และ 0.96
                   เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ขณะที่ปุ๋ยคอกมูลโค มีปริมาณธาตุฟอสฟอรัสในปุ๋ยเฉลี่ย 0.80 เปอร์เซ็นต์ และปอเทืองมี
                   ปริมาณฟอสฟอรัสในลำต้นเฉลี่ย 0.14 เปอร์เซ็นต์ (ตารางที่ 2)

                              ปริมาณโพแทสเซียม ก่อนการทดลองมีจำนวน 53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลังการเก็บผลผลิต
                   ข้าวโพดหวานปีที่ 1 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง มีค่าระหว่าง 50-155 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   ค่าเฉลี่ย 85 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยวิธีการที่ 5 การใช้ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีการ
                   สะสมโพแทสเซียมในดินมากสุด 155 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
                   มีการสะสมโพแทสเซียมในดิน 105 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่วิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทือง
                   แซมระหว่างแถว มีประมาณโพแทสเซียมเหลือน้อยสุด 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับปีที่ 2 สิ้นสุดการทดลอง
                   พบว่ามีแนวโน้มการสะสมโพแทสเซียมเพิ่มมากขึ้น มีค่าระหว่าง 72-172 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ค่าเฉลี่ย 117
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีการสะสม

                   โพแทสเซียมมากสุด 172 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอย่างเดียว มี
                   การสะสมโพแทสเซียมในดิน 143 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และการใช้ปุ๋ยหมักมีการสะสมโพแทสเซียมในดินน้อย
                   กว่าการใช้ปุ๋ยคอกมูลโค เหลือสะสมในดินประมาณ 74 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                              ปริมาณแคลเซียม ก่อนการทดลองมีปริมาณแคลเซียมในดินสูงมาก 4,428 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   หลังเก็บผลผลิตปีที่ 1 มีค่าลดลงในทุกวิธีการ มีค่าระหว่าง 3,366 - 4,049 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ค่าเฉลี่ย 3,674
                   มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยวิธีการที่ 1 วิธีเกษตรกรซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยหมัก 2 ตันต่อไร่ มีปริมาณแคลเซียมเหลือใน
                   ดินมากสุด 4,049 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และวิธีการที่ 5 การใช้ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มี
                   ปริมาณแคลเซียมเหลือในดินน้อยสุด 3,366 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเมื่อสิ้นสุดการทดลอง มีการสะสม
                   แคลเซียมในดินเพิ่มสูงขึ้นจากปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 3,973 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยพบว่าการใช้ปุ๋ยหมัก และปุ๋ย

                   อินทรีย์คุณภาพสูงมีการสะสมของแคลเซียมมากกว่าการใช้ปุ๋ยคอกจากมูลโค ซึ่งมีการสะสมแคลเซียมน้อยสุด
                   3,754 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                              ปริมาณแมกนีเซียม ก่อนการทดลองมีปริมาณแมกนีเซียมในดิน 344 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลัง
                   เก็บผลผลิตปีที่ 1 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยทั้งเพิ่มขึ้นและลดลงในแต่ละวิธีการ มีค่าเฉลี่ย  346 มิลลิกรัม
                   ต่อกิโลกรัม และเมื่อสิ้นสุดการทดลองมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย มีค่าเฉลี่ย 385 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดย
                   วิธีการที่ 7 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีการสะสมแมกนีเซียมในดินมาก
                   สุด 431 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีการสะสม

                   แมกนีเซียมน้อยสุดเฉลี่ย 333 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                              เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินโดยรวมเมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ความเป็นกรด
                   เป็นด่างของดินจากก่อนการทดลองมีค่า 7.1 มีการเปลี่ยนแปลงลดลงเหลือเฉลี่ย 6.8 ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
                   ลดลงเล็กน้อยจาก 2.7 ลดลงเหลือ 2.6 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มสูงขึ้น จาก 2.68 เพิ่มเป็น 11.6
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30