Page 27 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 27

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                      สรุปผลการทดลอง

                              การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อผลิตข้าวโพดหวานอินทรีย์  ดำเนินการ
                   ทดลองในพื้นที่แปลงเกษตรกร ตำบลสระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ปีงบประมาณ 2562-2563  สรุปผล
                   การทดลองได้  ดังนี้

                              1. การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน พบว่ามีการเจริญเติบโตทางความสูงใกล้เคียง
                   กัน มีค่าระหว่าง 156.1-169.9 เซนติเมตร โดยวิธีการที่ 7 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซม
                   ระหว่างแถว วิธีการที่ 2 การใช้ปุ๋ยมูลโค และวิธีการที่ 5 การใช้ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มี

                   การเจริญเติบโตทางความสูงเฉลี่ยใกล้เคียงกันคือ 169.6 เซนติเมตร และวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูก
                   ปอเทืองแซมระหว่างแถว มีการเจริญเติบโตทางความสูงน้อยสุด 156.1 เซนติเมตร จะเห็นว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
                   ประเภทปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง จะมีการเจริญเติบโตดีกว่าการใช้ปุ๋ยพืชสด
                              สำหรับผลผลิต พบว่าวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุด 2,642.4
                   กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถวแล้วตัดคลุม ให้ผลผลิต
                   เฉลี่ยต่ำสุด 1,698.7 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียวให้ผลผลิตข้าวโพดหวาน
                   ใกล้เคียงกัน 2,251.5-2,290.5 กิโลกรัมต่อไร่ และเมื่อใช้ร่วมกับการปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถวแล้วตัดคลุม
                   พบว่ามีแนวโน้มในการให้ผลผลิตน้อยกว่า
                              2. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่าวิธีการที่ 2 การใช้ปุ๋ยคอกจากมูลโค มีรายได้สุทธิมากที่สุด

                   24,213.6 บาทต่อไร่ รองลงมาคือวิธีการที่ 1 วิธีเกษตรกร ซึ่งใช้ปุ๋ยหมัก 2 ตันต่อไร่ วิธีการที่ 5 การใช้ปุ๋ยมูลโค
                   ร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว และวิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มี
                   รายได้สุทธิ 20,031.5 18,318.0 และ 15,685.5 บาทต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนวิธีการที่ 3 และ 4 การใช้ปุ๋ยหมัก
                   และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพียงอย่างเดียว มีรายได้สุทธิใกล้เคียงกันคือ 14,512.5 และ 13,448.6 บาทต่อ
                   ไร่ ตามลำดับ และเมื่อใช้ปุ๋ยหมักและใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีรายได้สุทธิ
                   เหลือน้อยกว่าวิธีการอื่น มีรายได้สุทธิคงเหลือ 8,507.0 และ 5,427.0 บาทต่อไร่ จะเห็นว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
                   คุณภาพสูงแม้จะให้ผลผลิตที่มากกว่าแต่ก็มีต้นทุนการผลิตที่สูงทำให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิคงเหลือน้อยกว่าการ
                   ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น สำหรับปุ๋ยคอกการใช้ในอัตราที่น้อยกว่าปุ๋ยหมักและราคาที่ต่ำกว่า ทำให้เกษตรกรได้รับ

                   ผลตอบแทนมากกว่าการใช้ปุ๋ยหมัก
                              3. การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน พบว่ามีปริมาณอินทรียวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อย
                   ปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแมกนีเซียม มีการสะสมในดินเพิ่มสูงขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ปริมาณ
                   แคลเซียม มีค่าเฉลี่ยลดลงจากก่อนการทดลอง และความเป็นกรดเป็นด่างของดินจาก 7.1 มีการเปลี่ยนแปลง
                   ลดลงเล็กน้อยเหลือเฉลี่ย 6.8 เมื่อสิ้นสุดการทดลอง

                                                       ประโยชน์ที่ได้รับ

                              1. แนวทางการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มความอุดมสมบรูณ์ของดิน
                   และผลผลิตข้าวโพดหวานระบบอินทรีย์ ที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่การเกษตรเพื่อให้ได้ผล
                   ผลิตที่ดี มีความปลอดภัย มีรายได้เพิ่มจากมูลค่าของผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และเกิดความยั่งยืนในการทำเกษตร
                   อินทรีย์ และแนวทางการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้เหมาะสมและเพื่อให้เกิดผลดีในระยะยาว
                              2. ผลการวิจัยการปรับปรุงดินเพื่อการปลูกพืชในระบบอินทรีย์โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีในพื้นที่ จะ
                   ช่วยทำให้เกษตรกรบางส่วนที่ยังคงทำการเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมี มองเห็นประโยชน์และความสำคัญของปุ๋ย

                   อินทรีย์ และให้ความสนใจในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้อย่างมากใน
                   สภาวะที่ปุ๋ยเคมีมีราคาแพง และความเป็นไปได้ในการผลิตพืชอินทรีย์ที่มีความปลอดภัยทั้งผลผลิตที่ได้และ
                   สุขภาพที่ดีของเกษตรกรเอง
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32