Page 24 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   ตารางที่ 12  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกข้าวโพดหวาน
                                                                                           หน่วย : บาทต่อไร่
                                        วิธีการ                     ผลผลิต      รายได้    ต้นทุนรวม  รายได้สุทธิ

                                                                    กก./ไร่
                    1. วิธีเกษตรกร                                  2,251.5    33,772.5    13,741.0   20,031.5
                    2. ปุ๋ยมูลโค                                    2,290.5    34,357.5    10,143.9   24,213.6
                    3. ปุ๋ยหมัก                                     2,286.5    34,297.5    19,785.0   14,512.5
                    4. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง                        2,642.4    39,636.0    26,187.4   13,448.6
                    5. ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว     1,948.4    29,226.0    10,907.9   18,318.0
                    6. ปุ๋ยหมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว      1,936.8    29,052.0    20,545.0   8,507.0
                    7. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปอเทืองแซมระหว่างแถว   2,154.6   32,319.0   26,892.0   5,427.0
                    8. ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว     1,698.7    25,480.5    9,795.0    15,685.5


                   ผลการวิเคราะห์ดินก่อนและหลังการเก็บผลผลิต (ตารางที่ 13)
                              ดำเนินการเก็บตัวอย่างดินก่อนการทดลองที่ระดับความลึก 0 - 15 เซนติเมตร โดยสุ่มเก็บทั่ว
                   แปลง เพื่อวิเคราะห์หาค่าความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนการทดลอง และเก็บดินทุกแปลงย่อยหลังการเก็บ
                   ผลผลิตข้าวโพดหวาน ผลการวิเคราะห์ดินก่อนการทดลองพบว่า  ดินมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 7.1  ปริมาณ

                   อินทรียวัตถุ 2.7 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 2.68 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณโพแทสเซียม
                   53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณแคลเซียม 4,428 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณแมกนีเซียม 344 มิลลิกรัม
                   ต่อกิโลกรัม สำหรับผลการวิเคราะห์ตัวอย่างดินหลังเก็บผลผลิตข้าวโพดหวาน (สิ้นสุดการทดลอง) ปรากฏว่ามี
                   การเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน ดังนี้
                              ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ก่อนปลูกข้าวโพดหวาน พบว่า pH ของดิน มีค่าเฉลี่ย 7.1 หลัง
                   เก็บผลผลิตปีที่ 1 พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินลดลงในทุกวิธีการ มีค่าระหว่าง 6.4-6.7 ค่าเฉลี่ย 6.6
                   และหลังเก็บผลผลิตปีที่ 2 พบว่าแต่ละวิธีการมีแนวโน้มค่า pH เพิ่มขึ้นจากปีที่ 1 มีค่าระหว่าง 6.6-7.0 ค่าเฉลี่ย

                   6.8 โดยรวมแล้ว เมื่อเทียบกับก่อนการทดลองจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงค่า pH ของดินเล็กน้อย จากค่าเฉลี่ย
                   7.1 เหลือ 6.8 เมื่อสิ้นสุดการทดลอง
                              ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน  ก่อนการทดลองมีปริมาณอินทรียวัตถุ 2.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อสิ้นสุดการ
                   ทดลองปีที่ 1 พบว่ามีการสะสมของอินทรียวัตถุเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในวิธีการที่ใช้ปุ๋ยมูลโค ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์
                   คุณภาพสูงและการใช้ร่วมกับการปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว ปริมาณอินทรียวัตถุสะสมในดิน มีค่าระหว่าง
                   2.8-3.0 เปอร์เซ็นต์ โดยการใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกมีปริมาณอินทรียวัตถุสะสมมากสุด 3.0 เปอร์เซ็นต์ ส่วน
                   วิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีปริมาณอินทรียวัตถุสะสมเท่ากับก่อนการ
                   ทดลองคือ 2.7 เปอร์เซ็นต์ และในปีที่ 2 หลังเก็บผลผลิตหรือสิ้นสุดการทดลองปริมาณอินทรียวัตถุมีลดลง มีค่า
                   ระหว่าง             2.4-2.8 เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย 2.6 ซึ่งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับก่อนการทดลอง การลดลง
                   ของปริมาณอินทรียวัตถุ อาจเนื่องจากพืชมีการนำเอาธาตุอาหารในดินไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิต

                   เมื่อมีการนำผลผลิตออกไป ก็เป็นการนำธาตุอาหารออกไปจากดินเช่นกัน ทำให้การสะสมของปริมาณ
                   อินทรียวัตถุในดินเหลือน้อยลง
                              ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ก่อนการทดลองมีจำนวน 2.68 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หลัง
                   เก็บผลผลิตปีที่ 1 พบว่ามีปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มสูงขึ้นในทุกวิธีการ มีค่าระหว่าง 4.0-9.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
                   ค่าเฉลี่ย 6.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยวิธีการที่ 5 การใช้ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว มีปริมาณ
                   ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เหลือสะสมในดินมากสุด  9.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม รองลงมาคือวิธีการที่ 3 การใช้ปุ๋ย
                   หมัก วิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และวิธีการที่ 3 การใช้ปุ๋ยมูลโค มีประมาณฟอสฟอรัสสะสมในดิน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29