Page 17 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 17

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยการเจริญเติบโต น้ำหนักสด น้ำหนักแห้งพืชปุ๋ยสด 2 ปี

                                      วิธีการปลูกปอเทือง                 ความสูง    น้ำหนักสด  น้ำหนักแห้ง
                                                                          (ซม.)      (กก./ไร่)   (กก./ไร่)

                     ปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนปลูกข้าวโพด
                     สับกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนปลูกข้าวโพด (T8)              151.6      1,538.4      460.4
                     ปลูกแซมระหว่างแถวข้าวโพด
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่ใส่ปุ๋ยมูลโค (T5)            166.4      1,766.1      438.0
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมัก (T6)             163.0      1,524.3      398.2

                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (T7)   164.5   1,660.2      415.1
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่สับกลบปุ๋ยพืชสด (T8)         152.4      1,445.7      395.3
                                                                  เฉลี่ย   161.6     1,599.1     411.6

                              นอกจากข้อมูลการเจริญเติบโต น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง ได้ทำการเก็บตัวอย่างปอเทืองที่ปลูก 2
                   ปีวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในลำต้น จากการวิเคราะห์พบว่าปอเทืองที่ปลูกแล้วสับกลบเป็นปุ๋ยพืชสดใน
                   วิธีการที่ 8 มีปริมาณไนโตรเจนเฉลี่ย 1.54 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัส มีค่าเฉลี่ย 0.12 เปอร์เซ็นต์ และ

                   โพแทสเซียม มีค่าเฉลี่ย 1.45 เปอร์เซ็นต์ สำหรับปอเทืองที่ปลูกแซมระหว่างแถวในวิธีการที่ 5-8  มีปริมาณ
                   ไนโตรเจนระหว่าง 1.30-1.88 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณฟอสฟอรัส มีค่าระหว่าง 0.14-0.16 เปอร์เซ็นต์ และ
                   โพแทสเซียม มีค่าระหว่าง 1.42-1.57 เปอร์เซ็นต์ โดยปอเทืองที่ปลูกแซมระหว่างแถวในวิธีการที่ 7 ที่มีการใช้
                   ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง จะมีปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน และฟอสฟอรัส มากกว่าแปลงที่มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์
                   ชนิดอื่น (ตารางที่ 4)

                   ตารางที่ 4 แสดงปริมาณธาตุอาหารพืชปุ๋ยสด

                                                                                ปริมาณธาตุอาหาร (%)
                                           วิธีการ
                                                                            N           P           K
                     สับกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนปลูกข้าวโพด (T8)               1.54       0.12        1.45
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่ใส่ปุ๋ยมูลโค (T5)             1.62       0.14        1.57
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่ใส่ปุ๋ยหมัก (T6)              1.30       0.16        1.47
                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (T7)   1.88     0.16        1.52

                     ปลูกแซมระหว่างแถวแปลงที่สับกลบปุ๋ยพืชสด (T8)          1.82       0.15        1.42
                                                                  เฉลี่ย   1.63       0.14        1.48

                   การเจริญเติบโต ผลผลิต คุณภาพความหวาน และองค์ประกอบผลผลิต

                              การเจริญเติบโตทางความสูง และเส้นรอบวงโคนต้น
                              ปีที่ 1 ทำการวัดความสูงของข้าวโพดหวานก่อนการเก็บผลผลิต พบว่าข้าวโพดหวานมีความสูง
                   ระหว่าง 154.2-167.8 เซนติเมตร และแตกต่างทางสถิติ โดยวิธีการที่ 2 การใช้ปุ๋ยมูลโค ข้าวโพดหวานมีการ
                   เจริญเติบโตทางความสูงเฉลี่ยมากที่สุด 167.8 เซนติเมตร ใกล้เคียงกับวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
                   และวิธีการที่ 7  การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถวแล้วตัดคลุม มีความสูงเฉลี่ย
                   ประมาณ 167 เซนติเมตร ขณะที่วิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถวแล้วตัด
                   คลุม มีความสูงเฉลี่ยน้อยสุด 154.2 เซนติเมตร
                              ปีที่ 2 พบว่าความสูงของข้าวโพดหวานในทุกวิธีการไม่มีความแตกต่างทางสถิติ มีค่าระหว่าง

                   158.1-172.7 เซนติเมตร โดยวิธีการที่ 7 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถวแล้ว
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22