Page 23 - การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพื่อปลูกข้าวโพดหวานอินทรีย์
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                   ตารางที่ 11 น้ำหนักเฉลี่ยต่อฝักข้าวโพดหวาน (กรัมต่อฝัก)

                                           วิธีการ                         ปีที่ 1       ปีที่ 2    ค่าเฉลี่ย
                     1. วิธีเกษตรกร                                        341.4      364.2 ab      352.8
                     2. ปุ๋ยมูลโค                                          363.7       371.3 a      367.5

                     3. ปุ๋ยหมัก                                           355.6      350.2 ab      352.9
                     4. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง                              373.3       396.7 a      385.0
                     5. ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว           332.8      351.9 ab      342.4
                     6. ปุ๋ยหมักร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว            347.2       368.9 a      358.1
                     7. ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว   332.3   385.3 a      358.8
                     8. ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว           324.5       282.3 b      303.4

                                                                  เฉลี่ย   346.3        358.8       352.6
                                                                 F-test     Ns            *
                                                                CV (%)      9.11        8.20

                   หมายเหตุ   ค่าเฉลี่ยแนวตั้งที่ตามด้วยตัวอักษรเดียวกันแสดงว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ  โดยวิธีการ DMRT

                   ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
                             ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจากการปลูกข้าวโพดหวาน เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตและราคา
                   ข้าวโพดหวานที่เกษตรกรจำหน่ายได้ในปีที่ 1 และ 2 ไม่เปลี่ยนแปลง การคำนวณผลตอบแทนทางเศรษฐกิจนำ
                   ผลผลิตเฉลี่ยตลอดการทดลองมาคำนวณ ซึ่งพบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ เพียงอย่างเดียว และการใช้
                   ร่วมกับการปลูกปอเทืองแซมแล้วตัดคลุม ทำให้เกษตรกรมีรายได้สิทธิคงเหลือมากน้อยแตกต่างกันไป และไม่ทำ
                   ให้เกษตรกรขาดทุน โดยวิธีการที่ 2 การใช้ปุ๋ยคอกจากมูลโค มีรายได้สุทธิมากที่สุด 24,213.6 บาทต่อไร่

                   รองลงมาคือวิธีการที่ 1 วิธีเกษตรกร ซึ่งใช้ปุ๋ยหมัก 2 ตันต่อไร่ วิธีการที่ 5 การใช้ปุ๋ยมูลโคร่วมกับปลูกปอเทือง
                   แซมระหว่างแถว วิธีการที่ 8 การใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับปลูกปอเทืองแซมระหว่างแถว วิธีการที่ 3 การใช้ปุ๋ยหมัก
                   และวิธีการที่ 4 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพียงอย่างเดียว มีรายได้สุทธิ 20,031.5 18,318.0 15,685.5
                   4,512.5 และ 13,448.6 บาทต่อไร่ ตามลำดับ และเมื่อใช้ปุ๋ยหมักและใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปลูก
                   ปอเทืองแซมระหว่างแถว มีรายได้สุทธิคงเหลือ 8,507.0 และ 5,427.0 บาทต่อไร่ ตามลำดับ
                              จากการทดลองนี้เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิต จะเห็นว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงจะมีต้นทุน
                   การผลิตที่มากกว่าวิธีการอื่น ซึ่งแม้จะให้ผลผลิตที่มากกว่าแต่ก็มีต้นทุนการผลิตที่สูงทำให้เกษตรกรมีรายได้สุทธิ

                   คงเหลือน้อยกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดอื่น ปุ๋ยคอกมีต้นทุนการผลิตที่น้อยกว่าการใช้ปุ๋ยหมัก และเนื่องจากมีการ
                   ใช้ในอัตราที่น้อยกว่าและราคาที่ต่ำกว่า จึงทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนมากกว่า ในการทดลองนี้ใช้ปุ๋ยหมัก
                   ที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ผลิตขึ้นเอง โดยใช้ปัจจัยการผลิต เช่น กากอ้อย กากมันสำปะหลัง มูลโค รำละเอียด
                   กากน้ำตาล เป็นต้น ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณตันละ 1,700 บาท ปุ๋ยหมักที่กลุ่มเกษตรอินทรีย์ผลิตราคาที่
                   จำหน่ายให้เกษตรกรทั่วไปที่ไม่ใช่สมาชิกกลุ่ม ราคาตันละ 3,750 บาท แต่หากเป็นสมาชิกของกลุ่มฯ ราคา
                   จำหน่ายตันละ 1,600 บาท ซึ่งหากเกษตรกรรวมกลุ่มกันผลิตหรือทำปุ๋ยหมักใช้เอง ก็จะช่วยลดต้นทุนเรื่องของ
                   ปุ๋ยหมักลงได้ และทำให้มีรายได้คงเหลือที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับการใช้ปุ๋ยพืชสดในวิธีการที่ 8 แม้จะให้ผลผลิตที่ต่ำ
                   แต่ต้นทุนการผลิตก็น้อยกว่าทำให้มีรายได้สุทธิคงเหลือที่มากกว่าการใช้ปุ๋ยหมักอย่างเดียว (ตารางที่ 12 )
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28