Page 7 - การจัดการดินเปรี้ยวจัดที่เหมาะสมเพื่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชต่อการผลิตของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในจังหวัดพัทลุง Appropriate management of acid sulfate soil to increasing the availableof plant nutrient with for manufacture on oil palm in Phattalung
P. 7

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน




                                                          การตรวจเอกสาร

                                 1.  ดินเปรี้ยวจัด
                                 พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดสวนใหญแพรกระจายอยูทั่วไปในทุกภาคของประเทศ มีพื้นที่ 6,239,361 ไร
                      โดยเฉพาะที่ราบลุมภาคกลางตอนใต บริเวณชายฝงทะเลตะวันออกเฉียงใต บริเวณลุมน้ําจันทบุรี และชายฝง
                      ทะเลตะวันออกของภาคใต สําหรับพื้นที่ชายฝงทะเลตะวันออกของภาคใตตอนลาง พบวา จังหวัดที่มีพื้นที่ดิน
                      เปรี้ยวมากที่สุดคือ นราธิวาส รองลงมาสงขลา และปตตานี มีพื้นที่ 138,759 136,711 และ 102,313 ไร
                      ตามลําดับ สวนจังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ที่เปนดินเปรี้ยวจัด คิดเปนเนื้อที่ 62,052 ไร หรือรอยละ 2.90 ของพื้นที่
                      จังหวัด (กรมพัฒนาที่ดิน, 2558) จังหวัดพัทลุงมีพื้นที่ทั้งหมด 2,140,296 ไร ในป 2559 มีพื้นที่ปลูกปาลม
                      น้ํามัน 44,206 ไร พื้นที่ใหผลผลิตแลว 31,494 ไร ผลผลิตที่ได 83,975.05 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยตอไร 2,632.94

                      กิโลกรัมตอไร (สํานักงานจังหวัดพัทลุง, 2560) ดินเปรี้ยวจัดเปนดินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ํากรอย
                      หรือตะกอนน้ําทะเลที่มีสารประกอบของธาตุกํามะถันปะปนอยู เมื่อเกิดกระบวนการทางเคมีจะกลายเปนแรไพ
                      ไรท (FeS2) สะสม และเมื่อมีการระบายน้ําออก หรือระดับน้ําใตดินลดต่ําลงเกินชั้นไฟไรท ออกซิเจนในอากาศ
                      ก็จะทําปฏิกิริยาออกซิเดชันกับสารไพไรท และปลดปลอยกรดกํามะถัน (H2SO4) ขึ้นในชั้นดิน และพบ
                      สารประกอบจาโรไซท ที่มีสีเหลืองฟางขาวในชั้นดินดวย ลักษณะทั่วไปของดินเปรี้ยวจัดที่พบในบริเวณที่ราบ
                      ลุม ดินชั้นบนลึกตั้งแต 20-40 เซนติเมตรเปนดินเหนียวถึงเหนียวจัดมีสีเทาหรือสีเทาเขมถึงดํา มีจุดประสี
                      น้ําตาลแก สีแดงปนเหลือง และสีแดง มีคาความเปนกรดดาง 4.0-5.5 สวนดินชั้นลางเปนดินเหนียวมีสีพื้นเปน

                      สีน้ําตาล หรือสีน้ําตาลปนเทาถึงสีเทา มีจุดปะสีเหลืองปนน้ําตาล สีแดง หรือสีเหลืองฟางขาว มีการระบายน้ํา
                      เลว ความสามารถในการอุมน้ําสูง (นงคราญ, 2536) การเกิดพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดสงผลกระทบตอการใช
                      ประโยชนที่ดินเพื่อการเกษตรอยางรุนแรงทําใหปลูกพืชไดนอยชนิดและใหผลผลิตต่ํา การปลูกพืชจะไดรับ
                      ผลกระทบโดยตรงจากความรุนแรงของกรดที่เกิดขึ้นในดินโดยการละลายออกมาของธาตุบางชนิด เชน
                      อะลูมินัม เหล็ก และแมงกานีส จนถึงระดับที่เปนพิษตอพืช อีกทั้งทําใหธาตุฟอสฟอรัส ซึ่งเปนธาตุอาหารหลัก
                      ถูกตรึงใหอยูในรูปที่ไมเปนประโยชนตอพืช หรือถูกดูดดึงไปใชไมได เมื่อปลูกพืชในสภาพน้ําแชขัง แมจะดูวา
                      เปนการลดความเปนกรดของดินโดยใชน้ํา แตปญหาที่ตามมาก็คือความเปนพิษจากกาซไขเนา จากเหล็กและ
                      กาซคารบอนไดออกไซด (พิสุทธิ์ และคณะ, 2536)
                                 ดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกํามะถันมักเปนดินที่มีขอจํากัดของธาตุอาหารพืช พบวา โดยมากจะ

                      ขาดธาตุ N, P, K, Ca, Mg, S, Cu และ Mo จึงตองมีการเพิ่มใหกับพืช ดินกรดจะมีธาตุที่ละลายไดในชวง pH
                      ต่ําออกมามากกวาปกติ เชน อะลูมินัม, เหล็ก เปนตน เมื่อมีการใชปุยเคมีจึงตองใชอัตราที่สูง เนื่องจากมีธาตุ
                      อาหารบางสวนถูกตรึงโดยธาตุตางๆ เชน ฟอสฟอรัสจะถูกตรึงโดยอะลูมินัมและเหล็ก ปุยแอมโมเนียมและ
                      โพแทสเซียมก็ถูกชะลางไดงาย หากมีการใชปุยเคมีรวมกับปุยอินทรีย  ปุยเคมีจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
                      เนื่องจากสารอินทรียจะจับกับอะลูมินัมและเหล็ก เปนสารประกอบเชิงซอน ลดการตรึงฟอสฟอรัสไดระดับหนึ่ง
                      นอกจากนี้ ปุยอินทรียยังจับปุยแอมโมเนียมไดบางสวน ทําใหลดการสูญเสียชะลางไปไดบาง (เจริญและคณะ,
                      2540) ความเปนพิษของสารประกอบตางๆที่ละลายออกมาในสภาพดินที่เปนกรดจัด เชน ความเปนพิษของ

                      อะลูมินัม เมื่อ pH ลดลง 1 หนวย ปริมาณของอะลูมินัมที่ละลายไดจะเพิ่มขึ้นเปน 10 เทา อะลูมินัมจะสะสม
                      ในเนื้อเยื่อของราก ทําใหพืชยับยั้งการแบงตัวของเซลลและเอนไซมที่เกี่ยวของกับการสรางผนังเซลล ทําให
                      ระบบรากพืชไมเจริญเติบโต และความเปนพิษของธาตุเหล็กจะสงผลตอการเจริญเติบโตของพืช กาซ
                      ไฮโดรเจนซัลไฟดในดินเปรี้ยวจัด จะทําลายการทํางานของระบบรากพืชทําใหรากเนาหรือออนแอตอการเกิด
                      โรค เปนตน (พิสุทธิ์ และคณะ, 2536) พื้นที่ดินเปรี้ยวจัดเปนดินที่กอใหเกิดปญหาเปนอยางมากตอระบบ
                      เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยดินเปรี้ยวจัดเปนสาเหตุสําคัญที่ทําใหการเจริญเติบโตและผลผลิตพืช
                      ตกต่ํา เพราะทําใหความเปนประโยชนของธาตุอาหารหลักของพืชลดลง หรือมีไมเพียงพอตอความตองการของ

                                                                                                          2
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12