Page 2 - การจัดการดินเปรี้ยวจัดที่เหมาะสมเพื่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชต่อการผลิตของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในจังหวัดพัทลุง Appropriate management of acid sulfate soil to increasing the availableof plant nutrient with for manufacture on oil palm in Phattalung
P. 2
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ
ทะเบียนวิจัยเลขที่ 61 63 04 08 010102 024 105 02 11
ชื่อโครงการ การจัดการดินเปรี้ยวจัดที่เหมาะสมเพื่อความเปนประโยชนของธาตุอาหารพืชตอการ
ผลิตของปาลมน้ํามันที่ปลูกในจังหวัดพัทลุง
Appropriate management of acid sulfate soil to increasing the
availableof plant nutrient with for manufacture on oil palm in Phattalung
province
กลุมชุดดินที่ 14 ดินระแงะ (Rangae series : Ra)
ผูดําเนินงานวิจัย นายวิโรจน ปนพรม นางพิมลออนแกว นางสาวเพ็ญศรี ทองวิถี
นายนคร เพ็ชรบุรี นางนงเยาว พฤฒิคณี และนายอับดุลเลาะ หะยีหะเต็ง
บทคัดยอ
การจัดการดินเปรี้ยวจัดที่เหมาะสมเพื่อความเปนประโยชนของธาตุอาหารพืชตอการผลิตของ
ปาลมน้ํามันที่ปลูกในจังหวัดพัทลุง เริ่มตนดําเนินการ เดือนตุลาคม 2560 สิ้นสุด เดือนกันยายน 2563
ประกอบดวย 3 โครงการยอย คือ 1) ผลการใชปุยอินทรียรวมกับปูนโดโลไมทตอการเจริญเติบโตของปาลม
น้ํามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง 2) ผลการใชปุยชีวภาพและลดอัตราปุยเคมีตอการเพิ่มผลผลิตของ
ปาลมน้ํามันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง และ 3) ผลการใชปุยชีวภาพและปุยอินทรียคุณภาพสูงตอ
ขนาดและน้ําหนักของทะลายของปาลมน้ํามันที่ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด จังหวัดพัทลุง โดยมีแนวทางการ
จัดการดินเปรี้ยวจัด โดยการใชโดโลไมทในการปรับสภาพดิน และการเพิ่มความอุดมสมบูรณของดินโดย
เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาที่ดิน ไดแก การใชน้ําหมักชีวภาพ พด.2 ปุยอินทรียที่ขยายเชื้อดวยจุลินทรีย
ซุปเปอร พด.9 ปุยชีวภาพ พด.12 ปุยคอก ปุยอินทรียคุณภาพสูง รวมกับการลดการใชปุยเคมี เพื่อเพิ่มผลิต
ภาพและศักยภาพของดินเปรี้ยวจัดในการเจริญเติบโตของปาลมน้ํามัน ลดตนทุนการผลิต และเพิ่มผลตอบแทน
ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะไดใชเปนแนวทางปฏิบัติขยายผลสูเกษตรกรในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัดตอไป จากการศึกษา
สามารถแบงการจัดการตามชวงอายุของปาลมน้ํามัน คือ ชวงกอนใหผลผลิต ปาลมน้ํามันอายุ 1–3 ป เกษตรกร
ควรปรับปรุงดินเปรี้ยวจัดดวยการใสโดโลไมทตามคาความตองการปูน (LR) รวมกับการใสปุยเคมีอัตราครึ่งหนึ่ง
ตามคําแนะนําของกรมวิชาการเกษตร และใสปุยอินทรียที่ขยายเชื้อดวยจุลินทรียซ ุปเปอร พด.9 อัตรา 3
กิโลกรัมตอตน เปนวิธีที่ดีที่สุด ที่ทําใหปาลมน้ํามันมีผลผลิตสูงที่สุดในปแรก เทากับ 1,377.20 กิโลกรัมตอไร
และเมื่อปาลมน้ํามันเริ่มใหผลผลิต (อายุ 3-5 ป) ควรมีการใสโดโลไมทตามคาความตองการปูน (LR) รวมกับ
การใส 30% ของปุยเคมีตามอัตราแนะนําของกรมวิชาการเกษตร รวมกับปุยชีวภาพ พด.12 อัตรา 15 กิโลกรัม
ตอตน เปนวิธีที่ดีที่สุดที่ทําใหปาลมน้ํามันมีจํานวนทะลาย และน้ําหนักสดผลผลิตมีคามากที่สุด เทากับ 15.86
ทะลายตอตนตอป และ 3,392.64 กิโลกรัมตอไรตอป ตามลําดับ และเมื่อปาลมน้ํามันที่ใหผลผลิตแลว ชวงอายุ
5 ป ขึ้นไป ควรมีการใสโดโลไมทตามอัตราคาความตองการปูน (LR) รวมกับปุยเคมีอัตราครึ่งหนึ่งตามคา
วิเคราะหดินรวมกับปุยชีวภาพ พด.12 อัตรา 10 กิโลกรัมตอตน จะทําใหปาลมน้ํามันอายุ 5-7 ป มีคาเฉลี่ยเสน
รอบวงของทะลาย น้ําหนักสดตอทะลาย และน้ําหนักผลผลิตตอไรมากที่สุด โดยคาเฉลี่ยเสนรอบวงของทะลาย
ปาลมน้ํามัน เทากับ 91.72 เซนติเมตร น้ําหนักสดตอทะลาย เทากับ 11.9 กิโลกรัม และน้ําหนักสดผลผลิต
ปาลมน้ํามัน เทากับ 3,215.29 กิโลกรัมตอไรตอป ตามลําดับ
คําสําคัญ : ดินเปรี้ยวจัด ปุยเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ ปาลมน้ํามัน
(1)