Page 11 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 11

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            4




                  2. วิธีดำเนินการวิจัย

                         2.1 แผนการทดลอง

                          จัดทำแปลงวิจัยทดลองการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลาย

                  โจรในระบบเกษตรอินทรีย์ PGS วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design (RCBD)

                  จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 8 ตำรับการทดลอง ดังนี้

                  ตำรับการทดลองที่ 1 แปลงควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์และถ่านชีวภาพ)

                  ตำรับการทดลองที่ 2 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ (เนื่องจากอัตราแนะนำทั่วไปใช้ปุ๋ยหมัก 1 ตันต่อไร่

                  เพื่อลดต้นทุนการผลิต จึงลดการใช้ลงครึ่งหนึ่ง)

                  ตำรับการทดลองที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ตันต่อไร่ ( จากคำแนะนำของ วิฑูรย์และกมลศรี (2562))


                  ตำรับการทดลองที่ 4 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ อัตรา 750 กิโลกรัมต่อไร่ (จาก
                  การวิจัยของ ศิริลักษณ์ และ อรสา (2556) พบว่าผักคะน้าในแปลงทดลองที่ใช้อัตราส่วนของปุ๋ยคอกต่อถ่าน

                  ชีวภาพจากแกลบ 25:75 มีความสูงและน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่าทุกแปลง)

                  ตำรับการทดลองที่ 5 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่  (ศิริ

                  ลักษณ์ และ อรสา (2556) ได้อภิปรายและสรุปผลการวิจัยไว้ว่าอัตราส่วนผสมของปุ๋ยคอกต่อถ่านชีวภาพที่

                  แนะนำว่าเหมาะสมที่สุดในเว็บไซด์ของกลุ่มที่ใช้ถ่านชีวภาพ คือ 50:50 (Biochar Discussion Lists and
                  Terra Preta Website, 2012) เช่นเดียวกับคำแนะนำของ อารีย์ (2557)


                  ตำรับการทดลองที่ 6 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 750 กิโลกรัมต่อไร่ และถ่านชีวภาพ อัตรา 250 กิโลกรัมต่อไร่ (เป็น
                  อัตราที่เกษตรกรใช้ตามคำแนะนำจากนักวิชาการ)

                  ตำรับการทดลองที่ 7 ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ (จากการศึกษาของ บรรเจิดลักษณ์และรติกร

                  (2561) การใช้ถ่านชีวภาพในข้าวโพดฝักอ่อน อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลตอบแทนสูงสุด)

                  ตำรับการทดลองที่ 8 ถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตันต่อไร่ (พินิจภณ, 2560) ได้เสนอแนะว่าการใช้ถ่านชีวภาพที่

                  เหมาะสมกับพืชอายุสั้น เช่น พืชผัก พืชไร่ ควรใช้อัตราส่วนที่น้อยกว่า 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)

                         2.2 วิธีการดำเนินงาน


                                2.2.1.การจัดทำจุดเรียนรู้การผลิตถ่านชีวภาพ  ก่อสร้างศาลาจุดเรียนรู้พร้อมป้ายจุดเรียนรู้
                  การผลิตถ่านชีวภาพเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาที่ดิน โปสเตอร์ความรู้การผลิตถ่านชีวภาพและการใช้

                  ปรับปรุงดิน ถังและวัสดุสำหรับผลิตถ่านชีวภาพ (ภาพภาคผนวกที่ 1) และจัดทำเตาเผาถ่านชีวภาพจากถัง

                  200 ลิตร โดยดัดแปลงจากเตาเผาถ่านชีวภาพของ พินิจภณ (2560) ตามภาพภาคผนวกที่ 2
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16