Page 16 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 16
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
9
เล็กน้อยถึงเป็นกลาง ซึ่งในตำรับการทดลองที่ 8 ใส่ถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตันต่อไร่ มีค่าเป็นด่างปานกลาง และ
หลังเก็บเกี่ยวพบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างในแต่ละซ้ำมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ
ความเชื่อมั่น 95 % แสดงว่าความแตกต่างในแต่ละซ้ำน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบค่าความเป็นกรดเป็นด่างตั้งแต่
ช่วง 1 เดือน ถึงช่วงเก็บเกี่ยวทุกตำรับการทดลองมีค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ตารางที่ 4) เช่นเดียวกับ จาวภา และ
คณะ (2560) สายน้ำและคณะ (2559) และ Streubel et al. (2011) ใช้ถ่านชีวภาพในดินทรายที่มีค่าความ
เป็นกรดสามารถเพิ่มความเป็นกรดเป็นด่างในดินได้ แต่จากการทดลองปลูกกระเจี๊ยบเขียวในระบบเกษตร
อินทรีย์ การใช้ถ่านชีวภาพจากแกลบร่วมกับมูลสุกร อัตรา 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ ในชุดดินปราณบุรี ซึ่งมีความ
เป็นกรดเป็นด่างในดินเท่ากับ 8 ของนวลจันทร์และคณะ (2560) พบว่าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็น
กรดเป็นด่างในดิน
ตารางที่ 4 ค่าความเป็นกรดเป็นด่างหลังปลูก 1 เดือน และหลังเก็บเกี่ยว
ตำรับการทดลอง 1 เดือน เก็บเกี่ยว ผลต่าง
1 แปลงควบคุม 5.57 5.80 0.23
2 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กก./ไร่ 6.43 7.17 0.74
3 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 1 ตัน/ไร่ 6.00 5.87 -0.13
4 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 250 กก./ไร่และถ่านชีวภาพ อัตรา 750 กก./ไร่ 6.00 6.23 0.23
5 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 500 กก./ไร่และถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กก./ไร่ 5.47 6.37 0.90
6 ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 750 กก./ไร่และถ่านชีวภาพ อัตรา 250 กก./ไร่ 6.43 7.13 0.70
7 ถ่านชีวภาพ อัตรา 500 กก./ไร่ 5.97 6.33 0.36
8 ถ่านชีวภาพ อัตรา 1 ตัน/ไร่ 6.20 6.97 0.77
F-test (ตำรับการทดลอง) ns ns -
F-test (ซ้ำ) ** * -
C.V. (%) 14.20 11.70 -
หมายเหตุ: ns หมายถึง ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
* หมายถึง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 %
** หมายถึง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99 %
กก./ไร่ หมายถึง กิโลกรัมต่อไร่