Page 14 - การศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพและทดลองใช้ปรับปรุงดินสำหรับการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจรในระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม Study of Biochar Production and Sol Amendment Trial for Andrographis Herb in Participatory Guarantee Systems far Organic Agriculture
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                            7




                                                    ผลการทดลองและวิจารณ์
                  สมบัติของถ่านชีวภาพ

                         ผลวิเคราะห์ทางเคมีของถ่านชีวภาพ พบว่า ถ่านชีวภาพที่ผลิตได้มีสภาพเป็นด่างจัดมาก มีปริมาณ
                  อินทรีย์คาร์บอน 2.53 เปอร์เซ็นต์และอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) เท่ากับ 4.22 ซึ่งจุลินทรีย์

                  จะย่อยสลายได้ง่าย แต่ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนรวมสูงมาก คือ 81.01 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อ

                  ไนโตรเจน เท่ากับ 135 ซึ่งมีค่าสูงมากเช่นเดียวกัน จากค่ามาตรฐานอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนต้องไม่เกิน
                  20 ทำให้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ โดยไม่ต้องไปดึงไนโตรเจนในดินมาใช้ทำให้ดินสูญเสียไนโตรเจน เรียกว่า

                  ขบวนการ immobilization (สำนักเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551)  แต่ถ่านชีวภาพมีความคงทนต่อการย่อย

                  สลายอาจไม่เกิดกรณีเช่นนี้ สำหรับปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมมีปริมาณน้อย แสดงให้เห็น
                  ว่าปริมาณธาตุอาหารในถ่านชีวภาพมีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี (ตารางที่ 1) สำหรับปริมาณโลหะ

                  หนักในถ่านชีวภาพที่ใช้ทดลองไม่ได้วิเคราะห์ แต่จากการศึกษาของ ประไพพิศและคณะ (2557) ได้วิเคราะห์

                  ปริมาณโลหะหนักในถ่านชีวภาพที่ผลิตจากวัสดุอินทรีย์หลายชนิด พบว่า ปริมาณโลหะหนักมีค่าไม่เกิน
                  มาตรฐาน และไม่พบการปนเปื้อนของสารหนูและแคดเมียมในถ่านชีวภาพทุกชนิด


                  ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ทางเคมีของถ่านชีวภาพ

                       รายการ         pH         OC        Total OC         N           P O         K O
                                                    1
                                                                    2
                                                                                         2 5
                                                                                                      2
                     วิเคราะห์ถ่าน   (1:1)        (%)          (%)         (%)           (%)         (%)
                       ชีวภาพ
                     ไม้ยูคาลิปตัส    9.7        2.53        81.01         0.60         0.26        1.09

                  ที่มา: สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
                          1: โดยวิธี Walkey-Black (Walkey and Black, 1947)

                        2: โดยใช้เครื่องวิเคราะห์หาคาร์บอนและไนโตรเจนอัตโนมัติ (NCS analyzer)

                  สมบัติของปุ๋ยอินทรีย์

                         ผลวิเคราะห์ทางเคมีของปุ๋ยอินทรีย์ พบว่ามีสภาพเป็นกลาง มีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N

                  ratio) เท่ากับ 12.69  โดยค่ามาตรฐานอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนต้องไม่เกิน 20 ซึ่งเมื่อใส่ลงไปในดินก็จะ
                  เกิดขบวนการ mineralization ทำให้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยอินทรีย์ปลดปล่อยมาเป็นประโยชน์ต่อพืช (สำนัก

                  เทคโนโลยีชีวภาพทางดิน, 2551) เมื่อเทียบกับถ่านชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์จะย่อยสลายได้ง่ายกว่าคิดเป็น 80

                  เปอร์เซ็นต์ของอินทรีย์คาร์บอนของพืชแห้ง ( คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2526) สำหรับปริมาณไนโตรเจน
                  ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมมีน้อย แสดงให้เห็นว่าปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณน้อยมาก เมื่อเทียบ

                  กับปุ๋ยเคมี (ตารางที่ 2)
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19